ภัยจากสารเคมี : น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

รูปที่ 1 การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม, ที่มาของภาพ: มลพิษทางน้ำ (Water pollution)

ภัยจากสารเคมี ไม่ได้มีเพียงแต่ในรูปของก๊าซพิษที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังมีในรูปการปล่อยสารเคมีในรูปของสารละลายลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย ไม่สามารถนำน้ำนั้นมาใช้เพื่อการบริโภค อุปโภค ระบบนิเวศน์ของสัตว์น้ำถูกทำลาย รวมถึงการส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ทำให้ชาวบ้านระแวดนั้นได้รับความเดือดร้อนดังเช่นที่เป็นข่าวฟ้องร้องให้หน่วยงานรัฐเข้ามาตรวจสอบอยู่เป็นประจำ ตัวอย่างเช่น การปล่อยน้ำเสียออกสู่ลำคลองของโรงงาน ไทยแมค เอสทีอาร์ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปยางพาราอัดแท่ง จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ส่งผลให้ปลาตายเป็นจำนวนมากในคลองปกาสัย [1] และในปี พ.ศ. 2553โรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมได้ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสำโรงเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาแสดงดังรูปที่ 2 และนอกจากนี้ยังพบว่าโรงงานอุตสาหกรรมอีกหลายแห่งที่ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาได้ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ทำให้หน่วยงานกรียพีซออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฏหมายควบคุมการปล่อยน้ำเสีย บังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เปิดเผยข้อมูลการใช้สารเคมีในทุกกระบวนการและขั้นตอนการปล่อยมลพิษของโรงงานออกสู่สิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การลดการใช้สารพิษ

รูปที่ 2 น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อม ริมคลองสำโรง

Mersmann[ รายงานว่าน้ำเสียที่ได้จากอุตสาหกรรมทางเคมีประกอบด้วยสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำได้และละลายน้ำไม่ได้ ซึ่งงานทางวิศวกรรมเคมีได้เสนอแนวทางให้การบำบัดน้ำเสียไว้ 5 แนวทางดังนี้

– วิธีทางกล (Mechanical) เช่น การกรอง การหมุนเหวี่ยงแยก

– วิธีทางความร้อน (Thermal) เช่น การกลั่น การระเหย การตกผลึก

– วิธีทางชีวภาพ (Biological) เช่น การใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายหรือบำบัดน้ำเสีย

– วิธีทางเคมี (Chemical) เช่น การเติมสารเคมี หรือการใช้ แสง UV เป็นต้น

ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กำหนดค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงานต้องมีคุณสมบัติดังนี้

ตารางที่ 1 ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม

 

ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม

ดัชนีคุณภาพน้ำ

ค่ามาตรฐาน

วิธีวิเคราะห์

1. ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH valve) 5.5-9.0 pH Meter
2. ค่าทีดีเอส   (TDS หรือ Total Dissolved Solids)

• ไม่เกิน 3,000 มก/ล. หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ละประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง   หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม ที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 5,000 มก./ล.

• น้ำทิ้งที่จะระบายลงแหล่งน้ำกร่อยที่มีค่าความเค็ม (Salinity) เกิน 2,000   มก./ล. หรือลงสู่ทะเล ค่าทีดีเอสในน้ำทิ้งจะมีค่ามากกว่าค่าทีดีเอสที่มีอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือทะเลได้ไม่เกิน 5,000 มก./ล.

ระเหยแห้งที่อุณหภูมิ 103-105oC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
3. ค่าสารแขวนลอย (Suspended   Solids)

ไม่เกิน 50 มก./ล หรืออาจแตกต่างกันแล้วแต่ประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้งหรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมหรือประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียตามที่คณะกรรมควบคุมมลพิษเห็นสมควรไม่เกิน   150 มก./ล

กรองผ่านกระดาษกรองใยแก้ว (Glass Fiber Filter Disc)
4. อุณหภูมิ   (Temperature)

ไม่เกิน 40°C

เครื่องวัดอุณหภูมิ หมายเหตุ วัดขณะโรงงานดำเนินงาน
5. สีหรือกลิ่น

ไม่เป็นที่พึงรังเกียจ

ไม่ได้กำหนด
6. ซัลไฟด์ (Sulfide หรือ H2S)

ไม่เกิน 1.0   มก./ล.

Titrate
7. ไซยาไนด์ (Cyanice หรือ HCN)

ไม่เกิน 0.2 มก./ล.

กลั่นและตามด้วยวิธี   Pyridine Barbituric Acid
8. น้ำมันและไขมัน   (Fat, Oil and Grease)

ไม่เกิน 5.0   มก./ล.   หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ละประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้งหรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน   15 มก./ล.

สกัดด้วยตัวทําละลาย   แล้วแยกหาน้ำหนักของน้ำมันและไขมัน
9. ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)

ไม่เกิน 1.0   มก./ล.

Spectrophotometry
10. สารประกอบฟีนอล (Phenols) ไม่เกิน 1.0 มก./ล. กลั่นและตามด้วยวิธี   4-Aminoantipyrine
11. คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) ไม่เกิน 1.0 มก./ล. lodometric Method
12. สารปราบศัตรูพืชและสัตว์ (Pesticide) ต้องตรวจไม่พบตามวิธีตรวจสอบที่กำหนด Gas-Chromatography
13. ค่าบีโอดี (5   วันที่อุณหภูมิ 20 oC (Biochemical Oxygen Demand : BOD) ไม่เกิน 20 มก./ล. หรือแตกต่างแล้วแต่ละประเภทของแหล่งน้ำทิ้ง   หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 60 มก./ล. Azide Modification ที่อุณหภูมิ 20oC เป็นเวลา 5 วัน
14. ค่าทีเคเอ็น (TKN   หรือ Total Kjeldahl Nitrogen) ไม่เกิน 100 มก./ล. หรือแตกต่างแล้วแต่ละประเภทของแหล่งน้ำทิ้ง   หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 200 มก./ล. Kjeldahl
15. ค่าซีโอดี (Chemical   Oxygen Demand : COD) ไม่เกิน 120 มก./ล. หรือแตกต่างแล้วแต่ละประเภทของแหล่งน้ำทิ้ง   หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 400 มก./ล. Potassium Dichromate Digestion
16. โลหะหนัก (Heavy Metal)

1. สังกะสี (Zn)

ไม่เกิน 5.0 มก./ล. Atomic Absorption

Spectro Photometry ชนิด Direct Aspiration หรือวิธี Plasma Emission Spectroscopy ชนิด Inductively   Coupled Plama : ICP

 

 

 

 

 

 

 

2. โครเมียมชนิดเฮ็กซาวาเลนท์(Hexavalent   Chromium) ไม่เกิน 0.25 มก./ล.
3. โครเมียมชนิดไตรวาเลนท์ (Trivalent   Chromium) ไม่เกิน 0.75 มก./ล.
4. ทองแดง (Cu) ไม่เกิน 2.0 มก./ล.
5. แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.03 มก./ล
6. แบเรียม (Ba) ไม่เกิน 1.0 มก./ล
7. ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.2 มก./ล.
8. นิคเกิล (Ni) ไม่เกิน 1.0 มก./ล.
9. แมงกานีส (Mn) ไม่เกิน 5.0 มก./ล.
10. อาร์เซนิค   (As) ไม่เกิน 0.25 มก./ล. -Atomic Absorption Spectrophotometry ชนิด Hydride   Generation หรือวิธี Plasma Emission Spectroscopy ชนิด Inductively Coupled Plasma : ICP
11. เซเลเนียม (Se) ไม่เกิน 0.02 มก./ล. -Atomic Absorption Spectrophotometry ชนิด Hydride   Generation หรือวิธี Plasma Emission Spectroscopy ชนิด Inductively Coupled Plasma : ICP
12. ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.005 มก./ล. -Atomic Absorption Cold Vapour Techique

 

ที่มา : http://dpm.nida.ac.th/main/index.php/articles/chemical-hazards/item/129

 

Leave a comment