พฤติกรรมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย

ในปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์ ทำให้มนุษย์ต้องประสบกับผลกระทบอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ณรงค์ ณ เชียงใหม่ (2525 : 55)จากwww.beartai.com  ได้สรุปปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือ มลพิษทางน้ำมลพิษทางดิน มลพิษทางอากาศ และปัญหาขยะมูลฝอย โดยมีการปล่อยน้ำเสียและกากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงไปในแหล่งน้ำสาธารณะ ทำให้แหล่งน้ำสาธารณะสกปรกและเกิดสภาพเน่าเสีย สัตว์น้ำต่าง ๆ ต้องตายไปเป็นจำนวนมาก และเป็นการทำลายสุขภาพของประชาชนทั้งโดยทางตรง และทางอ้อม การทำลายพื้นที่ด้วยวิธีใด ๆ ก็ตามจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้อง การทิ้งสิ่งขับถ่ายของมนุษย์และสัตว์ลงไปในดิน โดยขาดความระมัดระวัง

การทิ้งกากหรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงในดิน การใช้สารเคมีทางการเกษตรทำให้สารพิษตกค้างอยู่ในดิน เป็นเหตุให้ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ อันมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เมื่อโรงงานอุตสาหกรรมได้เข้าไปตั้งในพื้นใดเพิ่มมากขึ้น มีการพัฒนาทางด้านการคมนาคม และการขนส่ง การใช้ยานพาหนะต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้คุณภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในระดับที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ รวมทั้งการนำสารเคมีมาใช้ในขบวนการผลิตต่าง ๆ ฝุ่นละอองเขม่าควันจากโรงงานอุตสาหกรรมการฉีดพ่นยาทางการเกษตรตลอดจนในสารผสมอาหาร เมื่อร่างกายรับเอาสารเข้าไปสะสมทีละเล็กละน้อยจนมีปริมาณมากจะทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกายและเป็นสาเหตุของการเกิดเซลล์มะเร็ง หรืออาจไปลดภูมิต้านทานของร่างกายเป็นอันตรายต่อหน่วยสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต

ดังนั้น มลพิษต่างๆเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเป็นอยู่ และสุขภาพของมนุษย์ทั้งโดยทางตรง และทางอ้อมสำหรับปัญหาด้านขยะมูลฝอย ขยะเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เกิดการระบาดของโรคเพราะขยะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะที่เป็นอันตราย(Hazardouswaste)  นอกจากนี้ขยะยังเป็นมลพิษที่สำคัญในเขตเมือง เนื่องจากการผลิตขยะจากชุมชนมีอัตราสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า อัตราการเกิดมูลฝอยเฉลี่ย 1.008 กิโลกรัม ต่อคนต่อวัน วินัย วีระวัฒนานนท์ (2535 : 31-36)จากwww.web.rmutt ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ที่สำคัญคือ ขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล นอกจากจะก่อให้เกิดความสกปรกแก่บ้านเมืองแล้ว ยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคด้วย

ความหมายของขยะมูลฝอย

จากการรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่านักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของขยะมูลฝอยไว้ ดังนี้

พิชิต สกุลพราหมณ์ (2535 : 334)จากwww.beartai.com ได้ให้ความหมายว่า ขยะมูลฝอย หมายถึง บรรดาสิ่งของที่เสื่อมสภาพ ชำรุด หรือสภาพการใช้งาน ได้แก่ เศษสิ่งของ หรือเศษวัสดุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากอาคาร ที่พักอาศัย สถานที่ทำการ โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด ถนนสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2524 : 136-137)จากwww.beartai.com ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขยะมูลฝอยไว้ ดังนี้ขยะมูลฝอย หมายความถึง บรรดาสิ่งต่าง ๆ ซึ่งในขยะนั้นคนไม่ต้องการและทิ้งไป ทั้งนี้รวมตลอดถึงเศษผ้า เศษอาหาร มูลสัตว์ ซากสัตว์ เถ้า ฝุ่นละออง และเศษวัสดุสิ่งของที่เก็บกวาดจากเคหะสถาน อาคาร ถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และที่อื่น ๆ ขยะมูลฝอยเปียก หมายความถึง พวกเศษอาหาร พืชผัก เศษเนื้อสัตว์ และเศษของใหญ่ที่ได้จากการประกอบอาหารจากตลาด หรือเศษที่เหลือจากการรับประทานอาหารด้วยอินทรีย์วัตถุ ซึ่งมักเป็นพวกที่สลายตัวได้ง่าย ดังนั้นถ้ามูลฝอยเปียกถูกปล่อยทิ้งนาน เห็นควรจะเกิดการเน่าเสียและเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนได้ง่าย โดยปกติแล้วมูลฝอยเปียกจะมีปริมาณความชื้นประมาณ40-70% ของมูลฝอยทั้งหมดขยะมูลฝอยแห้ง หมายความถึง มูลฝอยที่ไม่เกิดการบูดเน่าได้ง่ายทั้งที่ติดไฟได้ และไม่ติดไฟ เช่น เศษกระดาษ เศษผ้า เศษแก้ว กระป๋อง ขวด ไม้ โลหะต่าง ๆ กิ่งไม้ รวมทั้งผง และฝุ่นละอองต่าง ๆ เป็นต้น ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้ (Compostable) หมายความถึง สารอินทรีย์ในขยะมูลฝอยที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้ปฏิกิริยาชีวเคมี เช่น เศษอาหาร เศษผลไม้ ขยะมูลฝอยที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ (Non Compostable) หมายความถึง สารอนินทรีย์หรือสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ยาก ในมูลฝอยที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้ปฏิกิริยาชีวเคมี เช่น เศษโลหะ ถุงพลาสติก ฯลฯ ขยะมูลฝอยที่เผาไหม้ได้ หมายความถึง มูลฝอยที่สามารถลุกไหม้ได้ เช่น เศษกระดาษ เศษไม้ ขยะมูลฝอยอันตราย หมายความถึง มูลฝอยที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น กากสารพิษ มูลฝอยจากโรงพยาบาล เช่น มูลฝอยติดเชื้อจากผู้ป่วย เข็มฉีดยา สำลี มูลฝอยจากบ้านเรือน และสถานที่ต่าง ๆ เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟ กระป๋องสเปรย์ ยาฆ่าแมลง น้ำมันเครื่อง วัตถุมีคมต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

ผู้วิจัยได้สรุป ความหมายของขยะมูลฝอยที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ว่า ขยะมูลฝอย หมายถึง วัสดุ สิ่งของที่เหลือทั้งจากการใช้งานตามแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ เศษกระดาษ เศษวัสดุที่ห่อหุ้มสินค้า พลาสติก เศษแก้ว กระป๋อง เศษอาหาร และเศษวัสดุอื่นซึ่งแบ่งประเภทได้เป็น ขยะมูลฝอยเปียก ขยะมูลฝอยแห้ง และขยะมูลฝอยอันตราย

ประเภทของขยะมูลฝอย

ระเบียบ ชาญช่าง (2541 : 21-22)จากwww.apptepschool.com ได้แบ่งประเภทของขยะมูลฝอยไว้ดังนี้

  1. ขยะสด(Garbage) ได้แก่ เศษอาหาร เศษพืชผัก เศษเนื้อสัตว์ เศษผลไม้ กระดูก และก้าง ฯลฯ ส่วนมากจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมการปรุงอาหาร และการรับประทานอาหารจากครัวเรือนตลาดสด สถานที่จำหน่ายอาหาร โรงอาหาร และสถานที่จัดเลี้ยงอาหาร ฯลฯ ขยะสดมีส่วนประกอบเป็นอินทรีย์สาร (Organic matter) ที่สลายตัวได้เป็นส่วนใหญ่ มีความชื้นปะปนอยู่ประมาณร้อยละ40-70 ดังนั้น ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานเกินไปโดยไม่นำไปกำจัดจะเกิดการสลายตัวเน่าเปื่อยจากปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน และเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคจากสัตว์เหล่านี้ได้ ขยะสดชนิดต่าง ๆ เมื่อปล่อยทิ้งค้างไว้ระยะหนึ่งจะมีน้ำเหลือง ๆ มีกลิ่นเหม็นเป็น “น้ำเหลืองขยะ” (Leachate)เกิดขึ้น และไหลนองออกมาจากส่วนที่เป็นของแข็ง กลายเป็นน้ำโสโครกที่ส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงและเป็นที่น่ารังเกียจ น้ำเหลืองขยะจะมีค่าบีโอดีค่อนข้างสูงมาก ถ้าไหลลงสู่แหล่งน้ำในปริมาณมาก ๆอาจทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำได้
  1. ขยะแห้ง(Rubbish) ได้แก่ เศษวัสดุที่ย่อยสลายยากหรือบางชนิดย่อยสลายตัวไม่ได้เลย(Nonputresible materials) ถ้าแบ่งตามคุณลักษณะของการเผาไหม้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ ขยะแห้งที่เผาไหม้ได้ (Combustible materials) ได้แก่ กระดาษ เศษไม้ กล่องไม้ ผ้าขี้ริ้ว เสื้อผ้าเก่า หรือชำรุด พลาสติก เศษหญ้า ใบไม้ ฯลฯ ขยะแห้งที่เผาไหม้ไม่ได้ (Non- combustiblematerials) ได้แก่ เศษโลหะ เศษแก้ว เศษชาม โอ่งแตก ขวดเปล่า กระป๋องบรรจุอาหาร ฯลฯ
  1. เถ้า(Ashes) เป็นเศษหรือกากที่เหลืออยู่หลังจากการเผาไหม้แล้ว เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงแข็ง พวกไม้ฟืน ถ่านไม้ ถ่านหิน แกลบ ซากของพืช ฯลฯ จะเกิดเป็นเถ้าเหลืออยู่ต้องนำไปกำจัดต่อไป เช่น นำไปถมที่ลุ่ม มิฉะนั้นจะเกิดปัญหารบกวน เช่นเดียวกับฝุ่นได้
  1. ซากสัตว์(Dead animals) ได้แก่ สัตว์ตายที่อาจเนื่องมาจากถูกยวดยานพาหนะชน หรือทับตาย หรือเป็นโรคตาย (ไม่นับรวมที่มนุษย์ฆ่า เพื่อเป็นอาหารเพราะเศษที่เหลือจากการใช้เป็นอาหารถือว่าเป็นขยะสด) ได้แก่ สุนัข แมว หมู วัว ควาย ฯลฯ ซากสัตว์เหล่านี้ต้องรีบนำไปกำจัดโดยเร็ว เช่น การเผาทำลาย การฝัง เป็นต้น มิฉะนั้นจะเกิดการเน่าเหม็นส่งกลิ่นรบกวน สร้างทัศนะอุจาด และน่าสมเพชแก่ผู้พบเห็น นอกจากนี้ถ้าสัตว์ตาย เนื่องจากโรคต่าง ๆ เช่น แอนเธอแรกซ์(Anthrax) โรคกลัวน้ำ จะอันตรายมาก เพราะเชื้ออาจติดเข้าสู่คนได้
  1. ขยะจากถนน(Street Refuse) ได้แก่ เศษดิน ฝุ่นละออง มูลสัตว์ เศษใบไม้ เศษหญ้าและเศษขยะที่ผู้เดินเท้าหรือผู้ที่อยู่บนพาหนะทิ้งลงบนถนนหรือข้างถนน เช่น พลาสติก เศษแก้วเศษกระเบื้อง เปลือกผลไม้ ฯลฯ ขยะจากถนนควรได้รับการรวบรวมและนำไปกำจัดเป็นประจำมิฉะนั้นจะเกิดการฟุ้งกระจายและเปรอะเปื้อนได้ง่าย ในขณะที่ฝนตกลงมาน้ำฝนจะไหลชะล้างขยะต่าง ๆ จากถนนลงสู่ท่อน้ำทำให้เกิดการอุดตันของท่อระบายน้ำได้
  1. ขยะจากการเกษตรกรรม(Agricultural Refuse) ได้แก่ ขยะที่เกิดจากกิจกรรมด้านการเกษตร เช่น เศษหญ้า ฟาง แกลบ เศษพืช เศษอาหารสัตว์ มูลสัตว์ ฯลฯ ส่วนมากเป็นอินทรีย์วัตถุที่สลายตัวได้ หากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดการหมักหมมเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคบางชนิดได้
  1. ของใช้ที่ชำรุด(Bulky Waste) หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ที่มีขนาดใหญ่ แต่มีสภาพชำรุดเสื่อมสภาพ หรือหมดอายุการใช้งาน เช่น เฟอร์นิเจอร์เก่าที่ชำรุด เตาหุงต้มที่ชำรุด ยางรถยนต์เก่าฯลฯ
  1. ขยะพิเศษ(Special Wastes) หมายถึง เศษสิ่งของที่มีอันตราย มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค วัตถุที่ระเบิดได้ เศษสิ่งของที่ปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตภาพรังสี เช่น กระป๋องสี ถ่านไฟฉายแบตเตอรี่รถยนต์ ฯลฯ ขยะพิเศษนี้มีแหล่งกำเนิดจากบ้านพักอาศัย โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม ร้านค้า

ปัญหามลพิษจากขยะมูลฝอย

พิชิต สกุลพราหมณ์ (2535 : 197-198)www.beartai.com ได้เสนอถึงปัญหาที่เกิดจากการที่ชุมชนไม่มีการจัดการขยะมูลฝอย อย่างถูกต้องเหมาะสมไว้ดังนี้

  1.   ภาวะมลพิษ (Pollution) มูลฝอยเป็นสาเหตุที่สำคัญมากอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะมลพิษดิน น้ำ และอากาศ เนื่องจากมูลฝอยที่ขาดการเก็บรวบรวมหรือไม่นำไปกำจัดอย่างถูกต้องปล่อยทิ้งค้างไว้ในพื้นที่ของชุมชนย่อมทำให้มีความสกปรก อาจมีเชื้อโรคหรือสารพิษตกค้างอยู่บนดิน ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษดินขึ้น เมื่อมีการชะล้างของพื้นผิวหน้าดินด้วยน้ำ เช่น น้ำฝน น้ำก็จะพัดพาและละลายเอาความสกปรกลงสู่ที่ราบลุ่ม และในที่สุดเกิดมลพิษน้ำในแหล่งน้ำขึ้นได้ ส่วนมลพิษอากาศนั้น เกิดขึ้นได้ทั้งพวกมลสารที่เป็นวัตถุและพวกแก๊ส หรือไอระเหย เนื่องจากกลิ่นที่เกิดจากการเน่าเปื่อยและการสลายตัวของอินทรีย์สาร
  1. แหล่งเพาะพันธุ์(Breeding Place) เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ปะปนมากับมูลฝอยมีโอกาสที่ขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากขึ้นได้ เพราะมูลฝอยมีทั้งความชื้น และสารอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ใช้เป็นอาหาร มูลฝอยพวกอินทรีย์สารที่ทิ้งค้างไว้ก็จะเกิดการเน่าเปื่อย กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันเป็นอย่างดี นอกจากนั้นกองมูลฝอยที่ปล่อยทิ้งค้างไว้นาน ๆ จะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของหนูรวมทั้งเป็นแหล่งขยายพันธุ์ เพราะมีทั้งอาหารและที่หลบซ่อนเป็นอย่างดี
  1. การเสี่ยงภัยต่อสุขภาพ(Health Risk) เนื่องจากการเก็บรวบรวม และการกำจัดมูลฝอยที่ไม่ดีหรือปล่อยปละละเลย ทำให้มูลฝอยเหลือทิ้งค้างในชุมชน ย่อมเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดมีทั้งแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค แมลงวัน หนู ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ประชาชนมีโอกาสจะต้องเสี่ยงภัยต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น
  1. การสูญเสียทางเศรษฐกิจ(Economic Loss) การเก็บรวบรวมและการกำจัดมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องก่อให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจ เช่น คนเกิดการเจ็บป่วยขึ้น ซึ่งนอกจากจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติแล้ว ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทางด้านการให้บริการการรักษาพยาบาล แพทย์พยาบาลจะต้องเพิ่มจำนวน และให้เวลาในการพยาบาลมากขึ้นทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการบริการมากขึ้น แม้แต่การปล่อยปละละเลยหรือการกำจัดมูลฝอยที่ทำให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำขึ้น นอกจากไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้เท่าที่ควร แล้วยังจะทำให้สัตว์น้ำลดจำนวนลงได้
  1. ขาดความสง่างาม(Nonesthetics) เนื่องจากขยะมูลฝอยเป็นผลผลิตของชุมชนที่เกิดขึ้นทุกวัน ถ้าไม่สามารถเก็บรวบรวมมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้หมด ปล่อยให้มีมูลฝอยเหลือค้างในชุมชนมูลฝอยส่วนที่เหลือค้างอยู่นั้น นอกจากจะทำให้เกิดความสกปรกและปัญหาอื่น ๆ ได้แล้ว ยังอาจเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความไม่เจริญ และขาดวัฒนธรรมของชุมชนอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ชุมชนนั้นขาดความสง่างามและขาดความเป็นระเบียบ
  1. เหตุรำคาญ(Nuisances) ขยะมูลฝอยอาจทำให้เกิดเหตุรำคาญได้หลายอย่าง ที่สำคัญคือกลิ่นเหม็น และฝุ่นละออง การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยได้ไม่หมดจะทำให้เกิดเป็นแหล่งรวมของกลิ่นเหม็น หรือแม้แต่การนำไปกำจัดที่แหล่งกำจัด หากไม่อาจกำจัดให้หมดไปได้ในแต่ละวันขยะมูลฝอยที่เหลือค้างและสะสมไว้นั้น จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเป็นเหตุรำคาญแก่ชุมชนในบริเวณใกล้เคียงขึ้นได้ นอกจากนั้นแล้วฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นจากการเก็บรวบรวม การขนถ่ายและการกำจัดขยะมูลฝอยก็ยังคงเป็นเหตุรำคาญที่มักได้รับการร้องเรียนจากประชาชนอยู่เสมอ

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย

การจัดการขยะมูลฝอยสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายด้าน เช่น ลักษณะและปริมาณของขยะ สถานที่ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน ค่าใช้จ่ายในกระบวนการกำจัด การนำผลผลิตจากการจัดการขยะไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นการเลือกใช้วิธีการจัดการขยะแบบไหนนั้นจะต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งวิธีการจัดการขยะมูลฝอยได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้แนวคิดไว้ ดังนี้ กรมควบคุมมลพิษ (2544 : 11-14)จากwww.beartai.com ได้กำหนดแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร โดยเน้นรูปแบบของการวางแผนการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องส่งเข้าไปทำลายด้วยระบบต่างๆให้น้อยที่สุด สามารถนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ทั้งในส่วนของการใช้ซ้ำและการแปรรูปเพื่อใช้ใหม่ (Reuse & Recycle)รวมถึงการกำจัดที่ได้ผลพลอยได้ เช่น ปุ๋ยหมักหรือพลังงาน โดยสรุปวิธีการดำเนินการตามแนวทางมีดังนี้คือ

  1. การลดปริมาณการผลิตมูลฝอย รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดการผลิตมูลฝอยในแต่ละวัน ได้แก่

1.1 ลดการทิ้งบรรจุภัณฑ์โดยการใช้สินค้าชนิดเติมใหม่ เช่น ผงซักฝอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดและถ่านไฟฉายชนิดชาร์ตใหม่ เป็นต้น

1.2 เลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพมีห่อบรรจุภัณฑ์น้อย อายุการใช้งานยาวนาน และตัวสินค้าไม่เป็นมลพิษ

1.3 ลดการใช้วัสดุกำจัดยาก เช่น โฟมบรรจุอาหารและถุงพลาสติก

  1. จัดระบบการรีไซเคิล หรือการรวบรวมเพื่อนำไปสู่การแปรรูปเพื่อใช้ใหม่

2.1 รณรงค์ให้ประชาชนแยกของเสียกลับนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น กระดาษพลาสติก และโลหะ นำไปใช้ซ้ำหรือนำไปขาย/รีไซเคิล ขยะเศษอาหารนำมาหมักทำปุ๋ย ในรูปปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในชุมชน

2.2 จัดระบบที่เอื้อต่อการทำขยะรีไซเคิล

2.3 จัดกลุ่มอาสาสมัครหรือชมรม หรือนักเรียนให้มีกิจกรรม/โครงการ นำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่

2.4 จัดตั้งศูนย์รีไซเคิลหากพื้นที่ที่มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในแต่ละวันเป็นปริมาณมากๆ อาจจะมีการจัดตั้งศูนย์คัดแยกขยะมูลฝอยซึ่งสามารุจะรองรับจากชุมชนใกล้เคียงหรือรับซื้อจากประชาชนโดยตรงซึ่งอาจจะให้เอกชนลงทุนหรืออาจให้สัมปทานเอกชนก็ได้

  1. การขนส่ง

3.1 ระยะทางไม่ไกลให้รถขนส่งขยะมูลฝอยไปยังสถานที่กำจัดโดยตรง

3.2 ระยะทางไกลและมีปริมาณขยะมูลฝอยมากอาจจะต้องสร้างสถานีขนถ่าย เพื่อถ่ายเทจากรถเก็บขนขยะมูลฝอยลงสู่รถบรรทุกขนาดใหญ่

  1. ระบบกำจัด

เนื่องจากขยะมูลฝอยใช้ประโยชน์ใหม่ได้ จึงควรจัดการเพื่อกำจัดทำลายให้น้อยที่สุด ควรเลือกระบบกำจัดแบบผสมผสานเนื่องจากปัญหาขาดแคลนพื้นที่ จึงควรพิจารณาปรับปรุงพื้นที่กำจัดมูลฝอยที่มีอยู่เดิม และพัฒนาให้เป็นศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย โดยมีขั้นตอนดังนี้

4.1 จัดระบบคัดแยกขยะมูลฝอย

4.2 ระบบกำจัดผสมผสานหลายๆระบบในพื้นที่เดียวกัน ได้แก่ หมักทำปุ๋ย ฝังกลบและวิธีอื่นๆ เป็นต้น

ปรีดา แย้มเจริญวงศ์ (2531 : 63)จากwww.apptepschool.com ได้จัดแบ่งขั้นตอนในการดำเนินงานจัดการขยะมูลฝอยที่สำคัญไว้ 4 ขั้นตอน คือ

  1. การเก็บรวบรวม ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การขยะมูลฝอยใส่ในภาชนะไปจนถึงการรวบรวมขยะมูลฝอยจากแหล่งต่างๆ แล้วไปใส่ในยานพาหนะเพื่อขนส่งต่อไปยังสถานที่กำจัด หรือทำประโยชน์อื่น
  1. การขนส่ง เป็นการนำขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมจากแหล่งชุมชนขนส่งไปยังสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย หรือนำขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้ไปรวบรวมไว้ที่สถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยเพื่อรวบรวมขยะมูลฝอยคราวละมากๆ และขนส่งต่อไปยังสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย หรือนำไปทำประโยชน์อย่างอื่น
  1. การแปรสภาพ เป็นการทำให้ขยะมูลฝอยสะดวกต่อการเก็บขนหรือนำไปทำประโยชน์อย่างอื่น หรือการนำไปกำจัด การแปรสภาพนี้อาจทำได้โดยการบดอัดเป็นก้อนคัดแยก เอาส่วนที่ยังใช้ประโยชน์ได้ออกไป เป็นต้น
  1. การกำจัดหรือการทำลาย เป็นวิธีการจัดการขยะมูลฝอยในขั้นสุดท้ายเพื่อให้มูลฝอยนั้นไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอันจะมีผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม

ความหมายของพฤติกรรม

ชลิตา ถนอมวงษ์ (2537 : 10)จากwww.apptepschool.com ได้ให้ความหมายของพฤติกรรมว่า หมายถึง การกระทำหรือการตอบสนองของบุคคล ซึ่งอาจเป็นไปโดยไม่รู้สึกตัว หรือมีจุดมุ่งหมายรวมทั้งตรึกตรองเป็นอย่างดีมาแล้ว โดยมีความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติเป็นตัวก่อให้แสดงออกมา โดยที่บุคคลอื่นๆที่อยู่รอบๆ สามารถสังเกตการกระทำนั้นได้หรือไม่ก็ตาม ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือทดสอบได้ ระเบียบ ชาญช่าง (2541 : 11) ได้ให้ความหมายของพฤติกรรมว่า หมายถึง การกระทำหรือ การตอบสนองของมนุษย์ต่อสถานการณ์หรือสิ่งกระตุ้นต่างๆ ทั้งที่สามารถสังเกตได้และไม่สามารถสังเกตได้

ประภาเพ็ญ สุวรรณ (2526 : 15)จากwww.khajochi.com ได้ให้ความหมายว่า พฤติกรรม หมายถึง กิจกรรมทุกประเภทที่มนุษย์กระทำไม่ว่าสิ่งนั้นจะสังเกตได้หรือไม่ได้ เช่น การเต้นของหัวใจ การเดิน การพูดการคิด ความรู้สึก ความชอบ ความสนใจ เป็นต้น

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร (2526 : 35)จากwww.beartai.com ได้กล่าวถึงพฤติกรรมมนุษย์ว่า มนุษย์มีพฤติกรรมทางจิตหรือพฤติกรรมภายในควบคุมกับพฤติกรรมภายนอก มนุษย์มีความรู้สึกในการสัมผัส มีการรับรู้ มีการเรียนรู้ มีการจำ มีการคิด มีการตัดสินใจ รวมทั้งเกิดอารมณ์ต่อสิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายนอกในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน พฤติกรรมทางจิตเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในสภาพแวดล้อมที่เป็นพฤติกรรมภายนอก พฤติกรรมทางจิตของมนุษย์อาจเกี่ยวข้องโดยตรงกับมนุษย์ด้วยกัน แต่ด้วยเหตุผลที่ว่า สังคมมนุษย์ย่อมต้องเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมกายภาพ ด้วยเหตุนี้พฤติกรรมทางจิตจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมกายภาพด้วยไม่มากก็น้อยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่ามนุษย์จะทำอะไรย่อมมีการรับข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อม มีการพยายามทำความเข้าใจความหมาย เกิดการเรียนรู้และสะสมไว้ในจิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการพัฒนาทางจิตต่อไป

สรุปได้ว่า พฤติกรรม หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติของมนุษย์ต่อสถานการณ์หรือสิ่งกระตุ้นต่างๆ โดยนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากประสบการณ์ไปใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันในรูปของการปฏิบัติ หรือการกระทำที่สามารถสังเกตเห็นได้

 แนวคิดทฤษฎีของพฤติกรรม

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526 : 15 – 17)จากwww.khajochi.com ได้กล่าวถึงทฤษฎีของ Bloom ว่า พฤติกรรมมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนคือ

  1. พฤติกรรมด้านพุทธปัญญา(Cognitive Domain) พฤติกรรมด้านนี้เกี่ยวข้องกับการรับรู้การรับรู้ การจำข้อเท็จจริงต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาความสามารถและทักษะทางสติปัญญา การใช้วิจารณญาณ เพื่อประกอบการตัดสินใจ พฤติกรรมด้านนี้ประกอบด้วยความสามารถระดับต่าง ๆ คือความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) การประยุกต์หรือการนำความรู้ไปใช้(Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) และการประเมินผล(Evaluation)
  1. พฤติกรรมด้านทัศนคติ ค่านิยม ความรู้สึกชอบ(Affective Domain) หมายถึง ความสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกท่าที ความชอบ ไม่ชอบ การให้คุณค่า การรับ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงค่านิยมที่ยึดถืออยู่ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของบุคคลยากแก่การอธิบาย พฤติกรรมด้านนี้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การรับรู้หรือการให้ความสนใจ (Receivingor attending) การตอบสนอง (Responding) การให้ค่าหรือเกิดค่านิยม (Valuing) การจัดกลุ่ม(Organizing) และการแสดงลักษณะตามค่านิยมที่ยึดถือ (Character by a Value)
  1. พฤติกรรมการปฏิบัติ(Psychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมที่ใช้ความสามารถทางด้านร่างกายแสดงออกซึ่งรวมถึงการปฏิบัติ หรือพฤติกรรมที่แสดงออก และสังเกตได้ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ หรืออาจเป็นพฤติกรรมที่ล่าช้า คือ บุคคลไม่ได้ปฏิบัติทันทีแต่คาดคะเนว่าอาจปฏิบัติในโอกาสต่อไป พฤติกรรมที่แสดงออกนี้เป็นพฤติกรรมขั้นสุดท้ายที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยพฤติกรรมระดับต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วเป็นส่วนประกอบ (ด้านพุทธปัญญาและด้านทัศนคติ)พฤติกรรมด้านนี้ต้องอาศัยเวลาและการตัดสินใจหลายขั้นตอน

สำหรับชุดา จิตพิทักษ์ (2526 : 58 – 59)จากwww.apptepschool.com กล่าวว่า สิ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์มีหลายประการ แยกได้เป็น 2 ประเภท

  1. ลักษณะนิสัยส่วนตัว ได้แก่

1.1 ความเชื่อ หมายถึง การที่บุคคลคิดถึงอะไรก็ตามในแง่ข้อเท็จจริง ซึ่งไม่จำเป็นต้องถูกหรือผิดเสมอไป ความเชื่ออาจมาจากการเห็น การบอกเล่า การอ่าน รวมทั้งการคิดขึ้นมาเอง

1.2 ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนนิยม ยึดถือประจำใจ ที่ช่วยตัดสินใจในการเลือก

1.3 ทัศนคติหรือเจตคติ มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล กล่าวคือทัศนคติเป็นแนวโน้มหรือขั้นเตรียมพร้อมของพฤติกรรมการปฏิบัติและถือว่าทัศนคติมีความสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมการปฏิบัติในสังคม

1.4 บุคลิกภาพ เป็นสิ่งกำหนดว่าบุคคลหนึ่งควรจำทำอะไรถ้าเขาอยู่ในสถานการณ์หนึ่ง เป็นสิ่งบอกว่าบุคคลจะปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์หนึ่ง ๆ

  1. กระบวนการอื่น ๆ ทางสังคม

2.1 สิ่งกระตุ้นพฤติกรรม (Stimulus Object) และความเข็มข้นของสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม ลักษณะนิสัยของบุคคล คือ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ บุคลิกภาพ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก็จริงแต่พฤติกรรมจะเกิดขึ้นยังไม่ได้ ถ้าไม่มีสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยภายในบุคคล ได้แก่ การสะสมความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องต่าง ๆ ที่เคยได้รับจากภายนอก เช่น ข่าวสารคำบอกเล่าของบุคคล เป็นต้น

พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526 : 15 – 17)จากwww.beartai.com ได้กล่าวถึงทฤษฎีของ Bloom เกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติว่าเป็นพฤติกรรมที่ใช้ความสามารถทางด้านร่างกายแสดงออกซึ่งรวมถึงการปฏิบัติ หรือพฤติกรรมที่แสดงออก และสังเกตได้ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ หรืออาจเป็นพฤติกรรมที่บุคคลไม่ได้ปฏิบัติทันทีแต่คาดคะเนว่าอาจปฏิบัติในโอกาสต่อไป พฤติกรรมที่แสดงออกนี้เป็นพฤติกรรมขั้นสุดท้ายที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยพฤติกรรมด้านพุทธปัญญาและด้านทัศนคติเป็นส่วนประกอบ พฤติกรรมด้านนี้ต้องอาศัยเวลาและการตัดสินใจหลายขั้นตอน ในการศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียน ในเขตเทศบาลตำบลท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมการปฏิบัติของนักเรียนต่อสถานการณ์หรือสิ่งกระตุ้นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย โดยนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากประสบการณ์ไปใช้ในการแก้ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในชีวิตประจำวันในรูปของการปฏิบัติ หรือการกระทำที่สามารถสังเกตเห็นได้ ในการวิจัยครั้งนี้ศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย 3 ด้านคือ การคัดแยกขยะมูลฝอย การไม่ทิ้งขยะมูลฝอยในที่สาธารณะ และการป้องกันมลพิษจากขยะมูลฝอย รายละเอียดในแต่ละพฤติกรรมดังจะกล่าวต่อไปนี้

การคัดแยกขยะมูลฝอย

การจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบันไม่ใช่เพียงแต่ทำลายหรือกำจัดให้หมดไปเท่านั้นแต่ควรจะต้องพยายามนำสิ่งที่ยังเป็นประโยชน์ที่มีอยู่ในตัวขยะออกมาทำให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนให้มากที่สุดด้วย ส่วนมากแล้วขยะมีศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ได้สูง หากมีการคัดแยกอย่างเหมาะสมไม่ให้มีการปนเปื้อนกัน เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก เป็นต้นสามารถนำส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้กลับมาใช้ใหม่ หรือเข้าสู่กระบวนการเพื่อผลิตสิ่งใหม่ๆ แต่โดยทั่วไปขยะมักจะอยู่ปะปนกัน ทำให้ความเป็นไปได้ในการนำขยะมาใช้ประโยชน์ลดน้อยลง ทั้งนี้เพราะขยะผสมจะมีความสกปรกสูงยากแก่การทำความสะอาดและคัดแยกให้ออกจากกันได้ยาก ดังนั้นถ้ามีมาตรการที่เหมาะสมในการคัดแยกขยะมิให้ปนเปื้อนกันแล้วย่อมสามารถใช้ประโยชน์ในขยะได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับชนิดและคุณภาพของขยะ นอกจากนี้ถ้าขยะบางชนิดไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้การคัดแยกขยะออกจากสารอื่นๆจะช่วยป้องกันพิษจากขยะนั้น รวมทั้งสะดวกที่จะหามาตรการกำจัดขยะนั้นได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย (สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. 2534 : 4)จากwww.beartai.com

การไม่ทิ้งขยะมูลฝอยในที่สาธารณะ

สังคมไทยในปัจจุบันยังขาดวัฒนธรรมทางด้านการรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน เนื่องจากคนในชุมชนเมืองและชุมชนชนบทมักจะคุ้นเคยกับการทำอะไรตามใจชอบของตนเองละเลยต่อการรักษาความสะอาดทั้งส่วนตนและส่วนรวม ดังจะเห็นได้จากเศษขยะต่างๆ เช่น กระดาษ กระป๋องเครื่องดื่ม ขวดพลาสติก ฯลฯ ที่ถูกทิ้งตกหล่นเรี่ยราดตามถนนหนทาง หรือกองขยะที่ถูกนำมาทิ้งไว้ริมถนนทางหลวง เหล่านี้เป็นภาพที่ให้ความรู้สึกไม่สบายตา ไม่สบายใจแก่ผู้พบเห็น

 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย

จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม พบว่า ตัวแปรที่คาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย มีดังนี้

 เพศ วัยเด็กตอนปลายเป็นวัยที่คาบเกี่ยวระหว่างวัยเด็กกับระยะก่อนวัยรุ่นพัฒนาการทางด้านสังคม เด็กในวัยนี้จะรู้สึกเป็นเจ้าของและซื่อสัตย์ต่อกลุ่ม มีพฤติกรรมที่เหมือนกลุ่มต้องการเพื่อนส่วนพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเด็กในวัยนี้จะมีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้มากขึ้นเริ่มสนใจในข้อมูลข่าวสารต่างๆ เห็นได้จากการเริ่มสนใจอ่านหนังสือต่างๆ เพื่อที่จะร่วมอภิปรายกับเพื่อนๆ มีความคิดริเริ่มที่จะทำสิ่งใหม่ๆ เริ่มคิดและตัดสินใจเอง มีความรับผิดชอบรู้จักใช้เหตุผลและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เมื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางด้านร่างกายระหว่างเด็กชาย

การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การ์ริสัน และมากูน (Garrision and Magoon. 1972 : 607)จากwww.bbcthai.com ได้ให้ความหมายของการรับรู้ว่า การรับรู้ หมายถึง กระบวนการซึ่งสมองตีความ หรือแปลข้อความที่ได้จากการสัมผัสของร่างกาย(ประสาทสัมผัสต่าง ๆ) กับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งเร้า ทำให้เราทราบว่าสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อมที่เราเข้าสัมผัสนั้นเป็นอะไร มีความหมายอย่างไร มีลักษณะอย่างไร ฯลฯ การที่เราจะรับรู้สิ่งเร้าที่มาสัมผัสได้นั้น จะต้องอาศัยประสบการณ์ของเราเป็นเครื่องช่วยในการตีความหรือแปลความ

 เจตคติ กู๊ด (Good. 1973 : 37)จากwww.bbcthai.com ได้ให้ความหมายว่า เจตคติ คือความโน้มเอียงหรือแนวโน้มในด้านความพร้อมที่จะแสดงออกในทางใดทางหนึ่ง คือ สนับสนุนหรือต่อต้านต่อสภาพการณ์บุคคล หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยความรู้สึกและอารมณ์

เทอร์สโตน (Thurstone. 1967 : 77)จากwww.bbcthai.com ได้ให้ความหมายว่า เจตคติเป็นผลรวมทั้งหมดของมนุษย์เกี่ยวกับความรู้สึก ความคิดเห็น ความกลัว ต่อบางสิ่งบางอย่าง การแสดงออกทางด้านคำพูดเช่น ความคิดเห็นเป็นสัญลักษณ์ของเจตคติ ซึ่งสามารถวัดได้โดยวัดความคิดเห็นของบุคคลที่มีต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ

พรรณี ช.เจนจิต (2528 : 288)จากwww.beartai.com กล่าวว่า เจตคติ หมายถึง ความรู้สึกที่พอใจและไม่พอใจที่ บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีอิทธิพลทำให้แต่ละคนตอบสนองต่อสิ่งเร้าแตกต่างกันออกไป

วรรณทิพา รอดแรงค้า (2532 : 115)จากwww.beartai.com อธิบายว่า เจตคติเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะแสดงออกมาเป็นท่าทาง หรือพฤติกรรมต่อบุคคล วัตถุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ซึ่งจะเป็นไปในทางบวกหรือลบก็ได้

 

ที่มา :กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์.  (2528).  จิตวิทยาการศึกษา(ฉบับปรับปรุงใหม่).  กรุงเทพฯ  : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กระทรวงศึกษาธิการ.  (2535).  หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช  2544

http://namewarangkana.com

 

“ญี่ปุ่น” ต้นแบบการจัดการขยะ

ปัจจุบันปัญหาขยะล้นเมืองกลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย จนทำให้ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2557 รัฐบาลต้องประกาศให้ “การจัดการขยะ” เป็น “วาระแห่งชาติ” และทำให้เกิดแนวทางและแผนงานในการจัดการขยะขึ้นมามากกมาย

ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการขยะจนเป็นที่ยอมรับในประเทศแถบเอเชีย ถือเป็นต้นแบบการจัดการขยะที่ดีให้กับทุกภาคส่วนที่เป็นผู้ก่อให้เกิดขยะ และเป็นแนวทางจัดการขยะที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

 

       คุณสุรัช อินทองปาน ผู้ช่วยบรรณธิการ รายการข่าว 3 มิติ ผู้ซึ่งได้ไปศึกษาดูงานการจัดการขยะทั้งระบบ ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2557 ได้แบ่งปันประสบการณ์ความรู้ โดยเล่าถึงปัญหาและวิธีการจัดการขยะที่ประเทศญี่ปุ่น ว่า

“ประเทศญี่ปุ่นเองก็เคยประสบปัญหาวิกฤตขยะเหมือนบ้านเรา เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ญี่ปุ่นก็ประกาศให้ขยะเป็นปัญหาวาระของชาติจากปัญหาเรื่องขยะล้นเมืองเช่นกัน มาจนถึงวันนี้ ญี่ปุ่นได้กลายเป็นสังคมเมืองที่ปราศจากขยะแล้ว ปัญหาดังกล่าวถูกแก้ไขอย่างจริงจัง โดยเริ่มต้นด้วยการแยกขยะในครัวเรือน และเมื่อภาครัฐรณรงค์อย่างจริงจัง ประชาชนส่วนใหญ่ก็ให้ความร่วมมือ”

 

     ประเทศญี่ปุ่น ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง ที่ให้สอดคล้องกับการกำจัดที่ปลายทางก่อนที่จะทิ้งขยะ ผู้ทิ้งจะต้องรู้จักลักษณะของขยะแต่ละชิ้น และแยกขยะอย่างละเอียด โดยแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

 

     ขยะเผาได้ ได้แก่ ขยะจากการใช้ชีวิตประจำวันในบ้าน เป็นวัสดุที่เผาไฟได้ มีขนาดไม่ใหญ่เกินไป ขยะเผาไหม้ได้พวกนี้จะถูกนำไปเผาในเตาเผาขยะ แล้วนำพลังงานความร้อนมาผลิตกระแสไฟฟ้าส่งขายให้การไฟฟ้า เพื่อแจกจ่ายให้บ้านเรือน ประชาชน

 

     ขยะเผาไม่ได้ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากแก้ว พลาสติกชนิดบางและหนา ของใช้ที่ทำจากยาง เครื่องหนัง แผ่นซีดี ม้วนเทปบันทึกภาพ ฯลฯ ขยะประเภทนี้จะถูกส่งไปโรงงานคัดแยก เพื่อส่งไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าประเภทต่างๆ ต่อไป

 

     ขยะรีไซเคิลได้แก่ กระดาษจากสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ กล่องเครื่องดื่ม และกระป๋องเครื่องดื่ม ที่เป็นอะลูมิเนียมบาง ขยะเหล่านี้ถือเป็นขยะรีไซเคิล จะส่งไปโรงงานผลิตกระดาษ และวัสดุอื่นๆ

 

     ขยะมีพิษ หรือ ขยะอันตรายได้แก่ ภาชนะบรรจุสารเคมีที่เป็นพิษ ขยะติดเชื้อ กระป๋องที่มีหัวฉีดสเปรย์ และขยะที่ถือเป็นวัตถุระเบิด เช่น ดอกไม้ไฟ รวมทั้งแบตเตอรี่  หลอดไฟชนิดต่างๆ และขยะประเภทของมีคม เช่น มีด เศษแก้ว เศษวัสดุแหลมคม ขยะเหล่านี้ผู้ผลิตจะต้องเข้ามาจัดเก็บไปรีไซเคิลและกำจัดต่อไป ส่วนขยะอันตรายก็ต้องส่งไปโรงงานกำจัดมูลฝอยอันตราย ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีเฉพาะกำจัดของเสียอันตราย เพื่อไม่ให้ปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศ

 

ปัจจุบันการแยกขยะก่อนทิ้ง และทิ้งขยะตามประเภท และวันเวลาที่กำหนด ถูกระบุใน “คู่มือการอยู่อาศัย”

 

“คู่มือการอยู่อาศัย” เป็นสิ่งที่ทุกครัวเรือนในประเทศญี่ปุ่นปฎิบัติกันอย่างเคร่งครัดและจริงจัง จนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ ทุกครัวเรือนในญี่ปุ่นจะได้รับ “คู่มือการอยู่อาศัย” จากเทศบาลท้องถิ่น

ในคู่มือจะให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการขยะ การแยกประเภทขยะ วันและเวลาที่เทศบาลท้องถิ่นจะมาจัดเก็บขยะ ซึ่งการแยกขยะที่ต้นทางจากครัวเรือนของประชาชนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะต้องแยกขยะอย่างน้อย 8 ประเภท ก่อนนำส่งให้เทศบาลท้องถิ่นนำไปจัดการ คือ

  1.        ขยะเปียกที่เป็นเศษอาหาร จะต้องแยกน้ำและเศษอาหารออกจากกันก่อนทิ้ง
  2.        ฉลากสินค้าพลาสติก
  3.        ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากแก้ว
  4.        ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติก
  5.        ผลิตภัฑณ์กระป๋อง
  6.        กระดาษชนิดต่างๆ
  7.        ขยะอันตราย
  8.        ขยะที่มีขนาดใหญ่ เช่น เฟอร์นิเจอร์ จะต้องโทรนัดหมายให้เจ้าหน้าที่มารับ และต้องเสียค่าใช้จ่าย

 

     ส่วน “การทิ้งขยะ” ทุกครัวเรือนจะต้องนำขยะไปวางที่จุดกำหนดการเก็บขยะแต่ละประเภท ตามวันและเวลาที่ระบุไว้ โดยเทศบาลกำหนดเวลาทิ้งขยะไว้ไม่เกิน 8 โมงเช้า

 

การจัดการขยะของประเทศญี่ปุ่น ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของการจัดการขยะมูลที่ดี ในด้านความมีวินัยของประชาชนและความเคร่งครัดของเจ้าหน้าที่ ทำให้ประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการจัดการขยะได้เป็นอย่างดี ญี่ปุ่นจึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในแนวทางที่ปฏิบัติแล้วได้ผล

แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการขยะประสบผลสำเร็จ นั่นคือ การมีส่วนร่วมของคนในสังคม ที่ต้องมีจิตสำนึกที่ดีในการรับผิดชอบและจัดการขยะที่ตนเองเป็นผู้ก่อขึ้นมา

 

ที่มา :  http://oknation.nationtv.tv/blog/KunchilaGolf/2015/03/14/entry-2

เปิดม่านความคิด : 4 ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการขยะแบบสวีเดน

4 ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการขยะแบบสวีเดน

                                       โดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ (ThaiBiz)

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม

           ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนกับประชาชนอย่างเป็นระบบ เมื่อผนวกกับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้งทำให้สวีเดนกลายเป็นประเทศผู้นำด้านการบริหารจัดการขยะและการผลิตพลังงานจากขยะ (Waste-to-Energy) ในระดับนานาชาติ ในขณะที่หลายประเทศยังไม่สามารถจัดการกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน ปัจจุบัน สวีเดนมีขยะที่ต้องนำไปกลบฝังเพียง 0.08 % ของปริมาณขยะทั้งหมดในประเทศและต้องนำเข้าขยะจากต่างประเทศเพื่อผลิตเป็นพลังงาน
ความตื่นตัวด้านพลังงานและการรักษาสิ่งแวดล้อมของชาวสวีเดนเริ่มมาตั้งแต่ปี 2483 แม้ว่าไทยจะตามหลังสวีเดนอยู่มาก สังคมไทยวันนี้ตื่นตัวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ลองมาดูปัจจัยที่ทำให้สวีเดนประสบความสำเร็จกลายเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีการนำขยะมาผลิตเป็นพลังงาน เผื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกภาคส่วนร่วมมือร่วมใจทำให้ประเทศไทยกำจัดและใช้ประโยชน์จากขยะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เมื่อเดือนต้น พ.ค.ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีเพิ่งจะเห็นชอบกับแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ระยะ 5 ปี (2559 – 2564)

 หนึ่ง สวีเดนตั้งเป้าชัดเจนที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ “ของเสียเหลือศูนย์” หรือ Zero Waste ภายในปี 2563 รัฐบาลสวีเดนมุ่งมั่นในการลดจำนวนขยะภายในประเทศตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ออกกฎหมาย
ทั้งระเบียบข้อบังคับท้องถิ่นเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว ทั้งการห้ามเผาขยะ การจำกัดการปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตราย การกำหนดให้นำขยะกลับมาใช้ใหม่แทนการฝังกลบ ใช้หลักการจัดการขยะตามลำดับขั้น (Waste Hierachy) กล่าวคือ ลดจำนวนขยะ (reduce) นำกลับไปใช้ใหม่ (reuse) รีไซเคิล (recycle) นำไปผลิตเป็นพลังงานเมื่อไม่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้อีก (recover energy)

สอง สวีเดนเน้นมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ชาวสวีเดนได้รับการปลูกฝังให้คัดแยกขยะออกเป็นประเภททำให้ง่ายต่อการนำขยะไปแปรรูป ด้วยเหตุนี้ ขยะที่มาจากครัวเรือนได้รับการนำกลับมารีไซเคิลและกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้โดยง่าย เมื่อแยกเอาขยะที่รีไซเคิลได้และของเสียที่ย่อยสลายไม่ได้ออกไปแล้ว จะเหลือขยะส่วนที่นำไปทำเป็นเชื้อเพลงได้หรือที่เรียกว่า Refuse Derived Fuel (RDF) โดยผ่านกระบวนการขึ้นกับเทคโนโลยีที่ใช้ เชื้อเพลิงที่ได้สามารถนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าหรือจำหน่ายก็ได้

สาม สวีเดนสานพลังความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ความร่วมมืออย่างเป็นระบบระหว่างเทศบาลท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้มีบทบาทหลักในการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน บริษัทและหน่วยงาน
อื่น ๆ ของภาครัฐต่างก็มีส่วนทำให้สวีเดนประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนดังเช่นทุกวันนี้ ยกตัวอย่างสมาคมจัดการขยะ (Swedish Waste Management Association) ที่เรียกว่า Avfall Sverige ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2490 ปัจจุบัน กลายเป็นสมาคมขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกเป็นภาครัฐและเอกชนกว่า 400 องค์กร มีภารกิจในการสนับสนุนการบริหารจัดการขยะ รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้และเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องการจัดการขยะทั่วสวีเดน
ยกตัวอย่างบริษัท MalarEnergi ที่เป็นบริษัทของเทศบาลเมือง Vasteras ของสวีเดน มีภารกิจในการผลิตกระแสไฟฟ้า การจัดการระบบปรับอากาศร้อนและเย็น ส่งจ่ายและบำบัดน้ำ รวมถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง สำหรับบ้านเรือน บริษัทฯ ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงร่วมกับชีวมวล ปัจจุบัน จัดการกับขยะโดยเฉลี่ยปีละ 480,000 ตัน โดยเมื่อแยกขยะที่รีไซเคิลได้อย่างโลหะ แก้ว หิน ออกไปแล้ว จึงนำขยะไปตัดบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำเข้าเครื่องเผาด้วยแรงน้ำอุณหภูมิสูงจัด ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ส่วนหนึ่งจะส่งไปตามท่อไปหมุนใบพัดของเครื่องผลิตไฟฟ้า อีกส่วนหนึ่งส่งไปใช้ในการให้ความอบอุ่นแก่บ้านเรือน ขณะที่ควันเสียจากการเผาไหม้จะถูกส่งไปบำบัดต่อไป เรียกว่าได้ใช้ประโยชน์จากขยะได้คุ้มมาก

สี่ สวีเดนเน้นนำเทคโนโลยีเข้าช่วยจัดการ โดย Global Innovation Index จัดให้สวีเดนเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ของโลกในด้านนวัตกรรม สวีเดนลงทุนกับการวิจัยในเทคโนโลยีการบริหารจัดการขยะ ซึ่งรวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำและสนับสนุนการศึกษาวิจัยทั้งในระดับประเทศและนานาชาติในสาขาต่าง ๆ ของการบริหารจัดการขยะ ซึ่งเป็นเรื่องที่สวีเดนทำมาโดยตลอด จนสวีเดนสามารถสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากขยะโดยเทคโนโลยีขั้นสูง และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2.2 ล้านตันต่อปี ดังเช่นปัจจุบัน

มหาวิทยาลัย Malardalen ของสวีเดนมีโครงการ Future Energy Profile ได้รับเงินสนับสนุนรวมทั้งสิ้น 83 ล้านโครนาสวีเดน หรือประมาณ 1 ล้านยูโร โดยแบ่งมาจากกองทุนองค์ความรู้ของประเทศ 40% จากบริษัทอุตสาหกรรม 40% และจากมหาวิทยาลัย 20% มีกรอบเวลา 7 ปี เพื่อพัฒนาระบบพลังงานทดแทน โดยเฉพาะการเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทนประเภทก๊าซชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงขยะชีวภาพ

ความสำเร็จในการบริหารจัดการขยะของสวีเดนไม่ใช่เพียงเพราะการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยแต่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในการแก้ปัญหาและร่วมกันบริหารจัดการกันอย่างเป็นระบบ ถือเป็นแบบอย่างที่ไทยควรเรียนรู้และนำมาปรับใช้

การนำแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากประเทศทั่วโลกมาให้ ภาคส่วนของไทยได้เรียนรู้ ขบคิดและปรับตัว ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจเพื่อนำสู่การปรับและประยุกต์ใช้ตามบริบทของประเทศ เป็นภารกิจหนึ่งที่สถานทูตไทยในต่างประเทศให้ความสำคัญภายใต้นโยบายการทูตวิทยาศาสตร์ โดยข้อมูลข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งจากการสัมมนา Waste-to-Energy: Swedish Approach ที่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอล์กโฮม ได้นำผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนจากสวีเดนในเรื่องนี้มาเล่าให้คนไทยฟัง เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อจุดประกายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการขยะของประเทศไทย ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการขยะ และเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดองค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างไทยกับสวีเดน

พบกับอัพเดตความเคลื่อนไหวและโอกาสในตลาดต่างประเทศที่สถานทูตไทยทั่วโลกตั้งใจติดตามมาให้ภาคเอกชนไทยได้ที่เว็บไซต์ www.ThaiBiz.net หากมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สามารถเขียนมาคุยกันได้ที่ bic.mfa@gmail.com

 

ที่มา :  http://www.mfa.go.th/business/th/articles/88/68972-4

 

ภัยจากสารเคมี : น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

รูปที่ 1 การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม, ที่มาของภาพ: มลพิษทางน้ำ (Water pollution)

ภัยจากสารเคมี ไม่ได้มีเพียงแต่ในรูปของก๊าซพิษที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังมีในรูปการปล่อยสารเคมีในรูปของสารละลายลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย ไม่สามารถนำน้ำนั้นมาใช้เพื่อการบริโภค อุปโภค ระบบนิเวศน์ของสัตว์น้ำถูกทำลาย รวมถึงการส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ทำให้ชาวบ้านระแวดนั้นได้รับความเดือดร้อนดังเช่นที่เป็นข่าวฟ้องร้องให้หน่วยงานรัฐเข้ามาตรวจสอบอยู่เป็นประจำ ตัวอย่างเช่น การปล่อยน้ำเสียออกสู่ลำคลองของโรงงาน ไทยแมค เอสทีอาร์ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปยางพาราอัดแท่ง จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ส่งผลให้ปลาตายเป็นจำนวนมากในคลองปกาสัย [1] และในปี พ.ศ. 2553โรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมได้ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสำโรงเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาแสดงดังรูปที่ 2 และนอกจากนี้ยังพบว่าโรงงานอุตสาหกรรมอีกหลายแห่งที่ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาได้ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ทำให้หน่วยงานกรียพีซออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฏหมายควบคุมการปล่อยน้ำเสีย บังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เปิดเผยข้อมูลการใช้สารเคมีในทุกกระบวนการและขั้นตอนการปล่อยมลพิษของโรงงานออกสู่สิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การลดการใช้สารพิษ

รูปที่ 2 น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อม ริมคลองสำโรง

Mersmann[ รายงานว่าน้ำเสียที่ได้จากอุตสาหกรรมทางเคมีประกอบด้วยสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำได้และละลายน้ำไม่ได้ ซึ่งงานทางวิศวกรรมเคมีได้เสนอแนวทางให้การบำบัดน้ำเสียไว้ 5 แนวทางดังนี้

– วิธีทางกล (Mechanical) เช่น การกรอง การหมุนเหวี่ยงแยก

– วิธีทางความร้อน (Thermal) เช่น การกลั่น การระเหย การตกผลึก

– วิธีทางชีวภาพ (Biological) เช่น การใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายหรือบำบัดน้ำเสีย

– วิธีทางเคมี (Chemical) เช่น การเติมสารเคมี หรือการใช้ แสง UV เป็นต้น

ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กำหนดค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงานต้องมีคุณสมบัติดังนี้

ตารางที่ 1 ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม

 

ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม

ดัชนีคุณภาพน้ำ

ค่ามาตรฐาน

วิธีวิเคราะห์

1. ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH valve) 5.5-9.0 pH Meter
2. ค่าทีดีเอส   (TDS หรือ Total Dissolved Solids)

• ไม่เกิน 3,000 มก/ล. หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ละประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง   หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม ที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 5,000 มก./ล.

• น้ำทิ้งที่จะระบายลงแหล่งน้ำกร่อยที่มีค่าความเค็ม (Salinity) เกิน 2,000   มก./ล. หรือลงสู่ทะเล ค่าทีดีเอสในน้ำทิ้งจะมีค่ามากกว่าค่าทีดีเอสที่มีอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือทะเลได้ไม่เกิน 5,000 มก./ล.

ระเหยแห้งที่อุณหภูมิ 103-105oC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
3. ค่าสารแขวนลอย (Suspended   Solids)

ไม่เกิน 50 มก./ล หรืออาจแตกต่างกันแล้วแต่ประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้งหรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมหรือประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียตามที่คณะกรรมควบคุมมลพิษเห็นสมควรไม่เกิน   150 มก./ล

กรองผ่านกระดาษกรองใยแก้ว (Glass Fiber Filter Disc)
4. อุณหภูมิ   (Temperature)

ไม่เกิน 40°C

เครื่องวัดอุณหภูมิ หมายเหตุ วัดขณะโรงงานดำเนินงาน
5. สีหรือกลิ่น

ไม่เป็นที่พึงรังเกียจ

ไม่ได้กำหนด
6. ซัลไฟด์ (Sulfide หรือ H2S)

ไม่เกิน 1.0   มก./ล.

Titrate
7. ไซยาไนด์ (Cyanice หรือ HCN)

ไม่เกิน 0.2 มก./ล.

กลั่นและตามด้วยวิธี   Pyridine Barbituric Acid
8. น้ำมันและไขมัน   (Fat, Oil and Grease)

ไม่เกิน 5.0   มก./ล.   หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ละประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้งหรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน   15 มก./ล.

สกัดด้วยตัวทําละลาย   แล้วแยกหาน้ำหนักของน้ำมันและไขมัน
9. ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)

ไม่เกิน 1.0   มก./ล.

Spectrophotometry
10. สารประกอบฟีนอล (Phenols) ไม่เกิน 1.0 มก./ล. กลั่นและตามด้วยวิธี   4-Aminoantipyrine
11. คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) ไม่เกิน 1.0 มก./ล. lodometric Method
12. สารปราบศัตรูพืชและสัตว์ (Pesticide) ต้องตรวจไม่พบตามวิธีตรวจสอบที่กำหนด Gas-Chromatography
13. ค่าบีโอดี (5   วันที่อุณหภูมิ 20 oC (Biochemical Oxygen Demand : BOD) ไม่เกิน 20 มก./ล. หรือแตกต่างแล้วแต่ละประเภทของแหล่งน้ำทิ้ง   หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 60 มก./ล. Azide Modification ที่อุณหภูมิ 20oC เป็นเวลา 5 วัน
14. ค่าทีเคเอ็น (TKN   หรือ Total Kjeldahl Nitrogen) ไม่เกิน 100 มก./ล. หรือแตกต่างแล้วแต่ละประเภทของแหล่งน้ำทิ้ง   หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 200 มก./ล. Kjeldahl
15. ค่าซีโอดี (Chemical   Oxygen Demand : COD) ไม่เกิน 120 มก./ล. หรือแตกต่างแล้วแต่ละประเภทของแหล่งน้ำทิ้ง   หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 400 มก./ล. Potassium Dichromate Digestion
16. โลหะหนัก (Heavy Metal)

1. สังกะสี (Zn)

ไม่เกิน 5.0 มก./ล. Atomic Absorption

Spectro Photometry ชนิด Direct Aspiration หรือวิธี Plasma Emission Spectroscopy ชนิด Inductively   Coupled Plama : ICP

 

 

 

 

 

 

 

2. โครเมียมชนิดเฮ็กซาวาเลนท์(Hexavalent   Chromium) ไม่เกิน 0.25 มก./ล.
3. โครเมียมชนิดไตรวาเลนท์ (Trivalent   Chromium) ไม่เกิน 0.75 มก./ล.
4. ทองแดง (Cu) ไม่เกิน 2.0 มก./ล.
5. แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.03 มก./ล
6. แบเรียม (Ba) ไม่เกิน 1.0 มก./ล
7. ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.2 มก./ล.
8. นิคเกิล (Ni) ไม่เกิน 1.0 มก./ล.
9. แมงกานีส (Mn) ไม่เกิน 5.0 มก./ล.
10. อาร์เซนิค   (As) ไม่เกิน 0.25 มก./ล. -Atomic Absorption Spectrophotometry ชนิด Hydride   Generation หรือวิธี Plasma Emission Spectroscopy ชนิด Inductively Coupled Plasma : ICP
11. เซเลเนียม (Se) ไม่เกิน 0.02 มก./ล. -Atomic Absorption Spectrophotometry ชนิด Hydride   Generation หรือวิธี Plasma Emission Spectroscopy ชนิด Inductively Coupled Plasma : ICP
12. ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.005 มก./ล. -Atomic Absorption Cold Vapour Techique

 

ที่มา : http://dpm.nida.ac.th/main/index.php/articles/chemical-hazards/item/129

 

มลพิษทางน้ำ

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามหาศาล น้ำมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืชถ้าขาดน้ำเมื่อใดก็เป็นการยากที่มนุษย์สัตว์และพืชจะดำรงชีวิตอยู่ได้นาน ดังนั้นตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบันเราจะพบว่ามนุษย์ทุกหมู่ สัตว์และพืชจะดำรงชีวิตอยู่ได้นานดังนั้นตั้งแตทุกเหล่า ทุกเผ่าพันธุ์ เลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้น้ำ น้ำธรรมชาติมีอยู่ทั่วไปทั้งบนผิวดิน ใต้ดิน และในบรรยากาศ น้ำบนผิวดินเป็นแหล่งน้ำที่เราจะพบมากที่สุด ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ห้วย ลำธาร ทะเลสาบ ทะเล และมหาสมุทร ส่วนน้ำใต้ดินมีแตกต่างกันเป็น 2 ประเภท คือ น้ำในดิน และน้ำบาดาล


ถ้าเราขุดบ่อลงไปบริเวณแหล่งน้ำในดิน เราเรียกบ่อน้ำชนิดนี้ว่า บ่อน้ำในดิน และถ้าขุดบ่อลึกลงไปมาก ๆ หรือใต้ชั้นหินจนถึงระดับน้ำบาดาล เราเรียกบ่อน้ำชนิดนี้ว่า บ่อน้ำบาดาล

น้ำธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ สัตว์ และความเจริญของพืชพันธุ์ ได้แก่ น้ำบนผิวดิน ในแต่ละวัน คนเราต้องใช้น้ำจำนวนมากทั้งในด้านการอุปโภค บริโภค การประกอบอาชีพ เช่น การประมง เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องช่วยกันรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้ให้สะอาดอยู่เสมอ หากปล่อยให้มีสิ่งสกปรก เช่น ขยะ หรือน้ำทิ้ง ลงปะปนอยู่ในน้ำธรรมชาติ ก็จะทำให้แหล่งน้ำนั้นกลายเป็นน้ำเสียในภายหลัง เมื่อแหล่งน้ำดีกลายเป็นน้ำเสีย ก็จะเป็นอันตรายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคน พืช และสัตว์ ไม่เฉพาะแต่พื้นที่เดียวเท่านั้น อาจขยายบริเวณภยันตรายกว้างไกลออกไปทั้งชุมชนละแวกนั้น ๆ ได้

คุณประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของน้ำคือ อาชีพทางน้ำ
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทั้งในด้านการอุปโภคและบริโภค

สาเหตุที่จะทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติอื่น ๆ กลายเป็นน้ำเสีย กล่าวโดยสรุปได้แก่

1. สิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือน

ที่อยู่อาศัยของชนที่อยู่รวมกันเป็นชุมชนเป็นย่านที่อยู่อาศัย และย่านการค้าขาย ในอาณาบริเวณดังกล่าวนี้ ย่อมจะมีน้ำทิ้งจากการอุปโภคและบริโภค เช่น น้ำจากการซักล้างและการทำครัว น้ำจากส้วมที่ไม่ได้ผ่านการบำบัดให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำลำคลอง น้ำทิ้งเช่นนี้จะทำให้เกิดน้ำเน่าน้ำเสียได้


2. สิ่งปฏิกูลจากการเกษตรกรรม

ในการเพาะปลูกปัจจุบันนี้ เกษตรกรใช้สารเคมีมากขึ้น เช่น ปุ๋ย สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งบางชนิดสลายตัวยาก สารอาจจะตกค้างอยู่ตามพืชผักผลไม้ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค และบางส่วนอาจจะกระจายอยู่ตามพื้นดิน เมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะล้างลิ่งเหล่านี้ลงแม่น้ำลำคลอง เป็นเหตุให้กุ้ง ปลา หอย ปู และสัตว์น้ำอื่น ๆ เป็นอันตรายถึงตายได้ ถ้าสัตว์น้ำได้รับสารเคมีบางชนิดในปริมาณไม่มาก ก็อาจสะสมอยู่ในตัวสัตว์ เมื่อคนจับสัตว์น้ำเหล่านี้มาทำอาหาร สารเคมีนั้นก็จะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายของคนอีกทอดหนึ่ง

บริเวณเพาะปลูกอาจมีมูลสัตว์ปนอยู่ เมื่อฝนตกหรือเมื่อใช้น้ำรดพืชผักผลไม้ น้ำก็จะชะล้างสิ่งปฏิกูล คือมูลสัตว์นี้ลงสู่แม่น้ำลำคลอง ในมูลสัตว์อาจมีเชื้อโรคและพยาธิปนอยู่ เป็นเหตุให้ผู้ใช้แม่น้ำลำคลองได้รับเชื้อโรคจากสิ่งปฏิกูลนั้นได้

3. สิ่งปฏิกูลจากการอุตสาหกรรม

โรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปใช้น้ำในปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน น้ำที่ใช้ทำความสะอาดเครื่องมือและพื้นที่ในโรงงาน และน้ำทิ้งจากโรงงาน จะเป็นน้ำเสียไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง บางโรงงานอาจมีวัสดุเหลือจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบางประเภทปนไปกับน้ำทิ้งทั้งหมดนี้ เป็นเหตุให้น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่า ส่งกลิ่นเหม็น มีสารพิษปะปนอยู่กลายเป็นมลภาวะที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้น

น้ำมันจากโรงงานอุตสาหกรรมก็มีส่วนทำความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หากใช้น้ำมันโดยขาดความระมัดระวัง เช่น การเทน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วลงน้ำ ตลอดจนการทำความสะอาดโรงงาน น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยลงแม่น้ำลำคลองเช่นนี้ จะมีคราบน้ำมันลอยเป็นฝา ทำให้ก๊าซออกซิเจนในอากาศไม่สามารถจะละลายลงไปในน้ำ มีผลทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำขาดก๊าซออกซิเจน ยิ่งกว่านั้นถ้ามีคราบน้ำมันคลุมผิวพื้นน้ำ แสงแดดส่องลอดลงไปใต้น้ำไม่ได้ ทำให้พืชในน้ำบางชนิดไม่สามารถสร้างอาหารและเจริญเติบโต แล้วยังมีผลเสียต่อเนื่องทำให้สัตว์ในน้ำตายด้วย เพราะพืชเล็ก ๆ ในน้ำ ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ตายเพราะน้ำเสีย


สิ่งปฏิกูลจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเหตุให้น้ำเน่าเสีย

เหมืองแร่เป็นอุตสาหกรรมอีกประเภทหนึ่งที่ทำให้คุณภาพของน้ำเสียไป ถ้าเหมืองแร่นั้นเป็นเหมืองฉีด น้ำจากเหมืองฉีดจะพาตะกอนซึ่งเกิดจากดิน หิน ทราย และเศษแร่ไหลปนไปกับน้ำที่ชะแร่ลงสู่แม่น้ำหรือทะเล ทำให้ลำน้ำตื้นเขิน ทับถมและทำลายแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ

จะเห็นว่าถ้าไม่มีการระมัดระวังในการใช้น้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำประปาหรือน้ำในแม่น้ำลำคลอง จะก่อให้เกิดน้ำเสียต่อเนื่องกันเป็นประดุจลูกโซ่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยต่อน้ำธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงอาณาประชาราษฎร์ ดังจะเห็นได้ว่าทุกแห่งที่พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎร จะทรงให้ความสำคัญต่อสายน้ำอันเป็นเส้นชีวิตของประชาชนว่าจะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่ราษฎรมากน้อยเพียงใด ด้วยเหตุนี้จึงได้มีคำว่า “น้ำพระทัยจากในหลวง

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง ได้แก่

1. น้ำเสียจากบ้าน ร้านค้าและอาคารที่ทำการ

ชุมชนที่มีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยหลาย ๆ หลังคาเรือน ย่านการค้าหรืออาคารที่ทำการ ล้วนจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และใช้สอยในจุดประสงค์อื่น ๆ น้ำที่ใช้นี้จะมีปริมาณหนึ่งซึ่งเป็นปริมาณส่วนใหญ่กลายเป็นน้ำทิ้งออกมา น้ำทิ้งนี้ส่วนมากจะเป็นน้ำจากส้วมและจากการชำระซักล้าง ซึ่งประกอบไปด้วยสารอินทรีย์สบู่ ผงซักฟอก เศษอาหาร ไขมัน สารอินทรีย์ และสิ่งปฏิกูลอื่น ๆ เจือปนอยู่ สารเหล่านี้เมื่อไหลลงสู่แม่ลำคลอง จะเกิดผลเสียสองประการใหญ่ ๆ คือ ประการแรกช่วยเพิ่มอาหารเสริมแก่พืชน้ำและสัตว์น้ำ ทำให้มีพืชน้ำและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น เมื่อพืชน้ำและสัตว์น้ำตายไป จะทำให้เกิดสารอินทรีย์ในน้ำเพิ่มขึ้น สารอินทรีย์ที่มาจากน้ำทิ้งและที่เกิดเพิ่มขึ้นนี้ ถ้ามีจำนวนมากเมื่อถูกย่อยสลายโดยแอโรบิคบัคเตรีที่มีอยู่ในน้ำ ก็จะนำเอาออกซิเจนละลายในน้ำมาใช้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ออกซิเจนในอากาศละลายลงในน้ำ ทำให้เกิดสภาพขาดออกซิเจนขึ้น อันเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะกับแอนแอโรบิคบัคเตรีให้ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่อไป ทำให้น้ำกลายเป็นสีดำมีกลิ่นเหม็น ส่วนสารอื่น ๆ ที่ปนมา เช่น สารอนินทรีย์จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ทำให้คุณภาพน้ำทิ้งไม่ได้มาตรฐานและเสียประโยชน์ใช้สอยไป นอกจากนี้ถ้าน้ำทิ้งมีเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ที่เป็นอันตราย เช่น บัคเตรี และไวรัส ก็จะทำให้เกิดโรคได้


กิจกรรมต่าง ๆ เช่น ซักผ้า หรือล้างจาน มีส่วนเพิ่มภาวะมลพิษให้แก่แหล่งน้ำ

2. น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำทิ้งจากระบบการผลิต ระบบการหล่อเย็น อาคารที่อยู่อาศัยและที่ทำการ ร้านค้าและโรงอาหารสารที่ปะปนมาอาจจะเป็นสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ กรดด่าง โลหะหนัก สารเคมีต่าง ๆ สารกัมมันตภาพรังสี สารพิษ ดินทรายและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ซึ่งเมื่อทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง จะทำให้เพิ่มปริมาณสารเหล่านั้นหรือเกิดการเป็นพิษกับสิ่งมีชีวิตในน้ำ เกิดการเน่าเหม็น เกิดสี กลิ่น และความไม่น่าดู

3. ปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตร

ปุ๋ยหลักที่ใช้ในการเกษตร ได้แก่ สารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปของฟอสเฟตสามารถยึดติดอยู่กับดินได้ จึงมีส่วนน้อยที่ไหลไปกับน้ำ ดังนั้นสารที่ทำให้เกิดปัญหาคือไนโตรเจน การใช้ปุ๋ยส่วนใหญ่มักใส่กันมากเกินกว่าที่พืชจะนำไปใช้ได้หมด เมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะเอาไนโตรเจนไหลไปตามผิวดิน ลงสู่แม่น้ำลำคลอง ช่วยให้สาหร่ายเจริญเติบโตได้ดีเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำเกิดสี กลิ่น และรสเมื่อสาหร่ายเหล่านี้ตายลง ก็จะทำให้น้ำเน่าเหม็นและมีฟีนอลสูงขึ้น เกิดฝ้าขาวลอยอยู่ตามผิวน้ำ

4. ผิวดินที่พังทลาย

ในพื้นที่รับน้ำบางแห่ง เช่น อ่างเก็บน้ำที่เสื่อมสภาพและมีการพังทลายของหน้าดิน จะทำให้น้ำมีความขุ่นสูง เกิดสี กลิ่น และรสได้


การพังทลายของหน้าดิน ทำให้เกิดมลภาวะต่อแม่น้ำลำคลองได้

5. การเลี้ยงปศุสัตว์

การเลี้ยงปศุสัตว์ ถ้าสัตว์เลี้ยงกินหญ้าที่คลุมหน้าดินมากเกินไปจะทำให้หน้าดินถูกน้ำกัดเซาะเมื่อฝนตก และเมื่อไหลลงในแหล่งรับน้ำก็จะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับข้อ 4 นอกจากนี้มูลสัตว์ก็จะไหลลงไปในลำน้ำทำให้มีสารอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสสูง เกิดปัญหาเช่นเดียวกับข้อ 1 และ 3

6. ยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืช

ยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืชส่วนมากเป็นสารเคมีที่บางครั้งก็เป็นสารมีพิษ เมื่อถูกชะล้างลงไปในน้ำ ก็จะเป็นพิษแก่พืชและสัตว์ที่อยู่ในน้ำ หากเรานำน้ำไปใช้ก็จะได้รับอันตรายจากสารพิษนั้นด้วย

7. ไฟป่า

ถ้าเกิดไฟป่าในบริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดน้ำจะทำให้มีขยะ เถ้าถ่าน ตะกอนทราย รวมทั้งสารมลพิษต่าง ๆ ไหลลงไปในแหล่งน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อคุณภาพของน้ำที่นำไปใช้สอย อีกทั้งอาจจะทำให้อ่างเก็บน้ำหรือแม่น้ำตื้นเขินเนื่องจากการสะสมของเถ้าถ่านและตะกอนต่าง ๆ


น้ำที่ชะล้างบริเวณที่เกิดไฟป่า จะมีขยะและสารมลพิษปะปน ทำให้น้ำตื้นเขิน

8. การใช้ที่ดินที่ขาดการควบคุม

การใช้ที่ดินสองข้างหรือรอบ ๆ แหล่งน้ำที่ขาดการควบคุมหรือการกำหนด จะทำให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพของน้ำได้ ดังนั้น จึงควรกำหนดเขตหรือห้ามการขยายชุมชนหรือการตั้งโรงงานตามริมน้ำที่นำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการทำประปา


เครื่องเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ป้องกันมิให้น้ำเน่าเสีย

การแก้ไขปัญหา

การแก้ปัญหาน้ำเสียมีทั้งมาตรการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ การบำบัด การกำจัดหรือหมุนเวียนของเสียต่าง ๆ จากกระบวนการทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การแสวงหาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนั้นยังมีมาตรการทางกฎหมาย ข้อบังคับมาตรฐานต่าง ๆ ตลอดจนการจัดตั้งองค์กร และการใช้อำนาจทางการบริหารเข้าเสริมในการป้องกันแก้ไข การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเป็นวิธีการหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขที่ใช้มาตรการทั้งทางกฎหมาย ทางการบริหาร และทางเทคโนโลยีร่วมกันในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและมลพิษต่าง ๆ

 

วิธีป้องกันน้ำเสียด้วยตัวเอง

ชีวิตเราเกี่ยวข้องกับการใช้น้ำ ถ้าเรารู้จักวิธีใช้ที่ถูกต้อง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว เช่น ลดค่าน้ำประปา ลดค่ากระแสไฟฟ้า ลดค่าเครื่องสุขภัณฑ์ ท่านสามารถลองปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้

การอาบน้ำ

ควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็นหรือก่อนนอน หรือภายหลังจากการออกกำลังกาย 30 นาที และควรอาบน้ำตามหลักความประหยัดดังนี้

ใช้น้ำ 1-2 ขันชโลมร่างกายเปียกให้ทั่ว ใช้ฟองน้ำหรือผ้าบางๆ เช็ดถูร่างกาย และจึงใช้น้ำ 1-2 ขันชำระร่างกายอีกรั้ง

นำสบู่ชนิดที่เป็นด่างอ่อน ไม่เจือสีฉูดฉาด และมีกลิ่นไม่แรงเกินไป

เริ่มฟอกสบู่ที่มือก่อน ล้างมือให้สะอาดแล้วจึงฟอกสบู่ที่ใบหน้า และลำคอแล้วล้างสบู่ออก จากนั้นจึงฟอกสบู่ที่ลำตัว แขน ขา ไปตามลำดับ พร้อมทั้งบีบนวดเบาๆ ที่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ

อาบน้ำด้วยฝักบัว ระหว่างเช็ดถูร่างกาย หรือฟอกสบู่ให้ปิดน้ำก่อนทุกครั้ง

อาบน้ำในอ่างน้ำ ควรชำระร่างกายตามที่กล่าวในข้อแรกก่อน ถ้าอ่างน้ำมีระบบน้ำร้อนน้ำเย็น ควรเปิดน้ำเย็นก่อน แล้วจึงเปิดน้ำร้อน ปรับอุณหภูมิ ผสมสบู่เหลวแล้วจึงเทลงไปแช่ตัวในอ่าง แล้วออกจากอ่างน้ำมาอาบน้ำด้วยขันหรือฝักบัว เพื่อชำระร่างกาย น้ำสบู่อาจใช้ร่วมกันได้สำหรับสมาชิกในครอบครัว

การอาบน้ำบ่อยเกินไป มากเกิน หรือนานเกินไป หรือฟอกสบู่มากเกินไป จะทำให้ผิวหนังซีดเซียว ผิวหนังอักเสบทำให้ แบคทีเรียบางชนิดที่ช่วยป้องกันและทำลายเชื้อโรคอื่นๆ ที่มีอยู่ตามผิวหนังหลุดหรือหมดไป ทำให้ร่างการขาดเกราะป้องกันเชื้อโรคได้

 

การแปรงฟัน

เพื่อรักษาสุขภาพในช่องปากไม่ให้เกิดกลิ่นปาก และป้องกันคราบหินปูนติดฟัน ช่วยให้สุขภาพของเหงือกและฟันดี จึงควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลังจากตื่นนอนและก่อนนอน จึงมีวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธีดังนี้

เลือกขนาดของแปรงให้พอเหมาะ ขนแปรงต้องอ่อนนุ่ม มีด้ามที่กระชับเหมาะมือมีปลายด้ามโด้งมน ยาสีฟันเลือกเนื้อละเอียด

ก่อนแปรงควรกลั้วน้ำในปากก่อนแล้วบ้วนทิ้ง ควรใช้น้ำที่ตักใส่แก้วดีกว่าเปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เริ่มแปรงจากฟันหน้าด้านบนและล่างโดยการปัดขนแปรงขึ้นและลง การปัดขนแปรงขึ้นลงต้องสบัดข้อมือไปมาเพื่อช่วยให้ขนแปรงนวดเหงือกเบาๆ หลังจากนั้นจึงแปรงด้านใน การแปรงฟันแบบชักแปรงไปมาจะทำให้เคลือบฟันและตัวฟันสึกได้

บ้วนปากด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง ล้างแปรงให้สะอาดผึ่งให้แห้ง เศษอาหารที่ติดตามซอกฟันที่แปรงออกยาก ก่อนแปรงฟันควรใช้เส้นใยขัดฟันก่อน ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันเพราะจะทำให้ฟันห่าง หลังจากรับประทานอาหารควรบ้วนปากสัก 2-3 ครั้ง ระหว่างแปรงฟันไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้

 

การล้างจาน

การล้างถ้วยชามและภาชนะในครัวเรือน มีวิธีการล้างที่ถูกต้องดังนี้

ภาชนะหรือถ้วยจาน หากมีเศษอาหารติดอยู่ให้เขี่ยลงในถังขยะก่อน ส่วนคราบมันควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษที่ ใช้แล้วเช็ดออก หรือเศษผ้าเช็ดออก

เปิดน้ำใส่ภาชนะล้าง เพียงเล็กน้อย เพื่อล้างคราบสกปรกที่เหลือ หลังจากนั้นจึงใช้น้ำยาล้างจาน ไม่ควรใช้ผงซักฟอก เพราะมีความเป็นด่างมาก และต้องล้างหลายๆ ครั้งทำให้สิ้นเปลืองน้ำมาก เมื่อฟอกถ้วยชามเสร็จแล้วล้างในภาชนะบรรจุ น้ำสะอาดที่ 1 และล้างอีกครั้งในภาชนะบรรจุน้ำที่ 2 แล้วจึงผึ่งในที่เก็บจานให้แห้ง

น้ำที่ใช้ล้างจานโดยวิธีนี้ยังมีคุณภาพดี สามารถใช้ล้างถ้วยชามได้อีกอย่างน้อย 1 ครั้ง และยังนำไปรดน้ำต้นไม้ได้ เพราะจะมีแร่ธาตุที่พืชต้องการเจือปนอยู่ด้วย

 

การซักผ้า

การซักผ้าที่ถูกวิธีทำให้งานซักผ้าอาจเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ทำให้เราสนุกสนาน ช่วยให้ปลอดภัย และประหยัดได้อย่างแปลกใจ การซักผ้าปกตินอกเหนือจากเทคนิคพิเศษ เช่นการซักแห้งควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

ควรมีจำนวนผ้าที่ซักประมาณ 15-20 ชิ้น ถ้าจำนวนมากเกินหรือน้อยเกินไป ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองหลายประการ ถ้าจำนวนพอเหมาะพอดี โดยเฉพาะซักมือเป็นการออกกำลังกายที่ดี

คัดเลือกแยกประเภทของผ้าที่ซัก เช่น ผ้าหนาหรือผ้าบาง ผ้าสกปรกมากหรือสกปรกน้อย สีตกหรือไม่ตก

ต้องใช้ผงซักฟอกตามปริมาณพอดีกับผ้าที่จะซัก เติมน้ำใส่ผงซักฟอกไว้ประมาณ 3 นาที ไม่ควรใช้มือตีผงซักฟอกทันที เสื้อผ้าที่สกปรกน้อยสีไม่ตก แช่ในน้ำผงซักฟอก 10-15 นาที และขยี้ผ้าเบาๆ แล้วจึงนำออกไปซักในน้ำผงซักฟอกอีกใบหนึ่ง อาจแปรงผ้าเบาๆ บริเวณที่ความสกปรกยังเกาะติดอยู่

ใช้มือลูบให้ผงซักฟอกออก แล้วล้างในน้ำสะอาด 1-2 ครั้ง ยกผ้าให้น้ำไหลคืนสู่ภาชนะ แล้วนำไปแขวนตากหรือผึ่งลม ไม่ควรตากผ้าในที่แสงแดดแผดกล้านานเกินไป

ผ้าที่สกปรกน้อย นำไปซักในภาชนะน้ำผงซักฟอกที่ 2 และนำผ้าสกปรกมาก แช่ไว้ในภาชนะน้ำผงซักฟอกที่ 1 เมื่อซักผ้าสกปรกน้อยแล้วจึงซักผ้าที่สกปรกมากตาม

เมื่อใช้น้ำยาปรับสภาพผ้า ใช้ในการซักน้ำขั้นตอนสุดท้าย ส่วนผ้าสีตกควรเติมเกลือ หรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อย จะช่วยให้สีผ้าดูสดใสขึ้น

น้ำผงซักฟอกที่เหลือในภาชนะที่ 1 และ 2 ใช้กับผ้ากันเปื้อนอื่นๆ อาจเป็นผ้าเช็ดเท้าหรือผ้าถูบ้าน อาจใช้น้ำที่เหลือขัดพื้นก็ได้

การซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า มีหลักการคัดเลือกผ้าและจัดแยกประเภทเช่นเดียวกับการซักผ้าด้วยมือ เลือกใช้ระบบหรือ รายการซักที่เหมาะสม กับคุณสมบัติของผ้า จำนวนผ้า และความสกปรก การใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาซักฟอกต้องมีปริมาณพอดี

เครื่องซักผ้าที่ปรับอุณหภูมิได้ ต้องปรับให้พอดีเพื่อช่วยให้ถนอมเนื้อผ้า ลดค่าไฟฟ้าและช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ผ้าที่ตาก หรือผึ่งไว้เกือบแห้งแล้ว พอมีความชื้นอยู่บ้าง ก็ควรนำไปรีดถ้าใช้น้ำยาผ้าเรียบก็จะไม่เกิดคราบน้ำยาจับ

การรีดผ้า รีดจากผ้าบางๆ ใช้ความร้อนต่ำๆ เรื่อยไปจนถึงผ้าหนา ใช้ความร้อนเพิ่ม เมื่อใกล้เสร็จแล้วดึงปลั๊กออก ใช้ ความร้อนที่สะสมไว้ในเตารีด ไม่ควรรีดผ้าในปริมาณมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

 

การใช้ห้องสุขา

ห้องสุขามีความสำคัญต่อทุกคน ใช้ในการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ควรดูแลรักษาความสะอาดเสมอ

ควรแยกห้องสุขากับห้องอาบน้ำออกจากกันเพื่อความสะดวก

การใช้โถสุขาแบบนั่งยอง ให้ใช้แบบโถเคลือบรักษาความสะอาดง่ายกว่าแบบหล่อปูน

การติดตั้งต้องมีทักษะพอสมควร ต้องวางให้ส่วนคอห่านอยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้น้ำขังคอห่านได้สนิท ป้องกันกลิ่นเหม็นแพร่ออกมาจากถังเกรอะ

โถส้วมแบบชักโครก มีชนิดตักน้ำราดและมีถังเก็บน้ำชำระ ส่วนมากโถแบบนี้มีฝาปิด

ถ้าเลือกใช้แบบที่มีถังเก็บน้ำ ควรเลือกระบบประหยัดน้ำหรือใส่ขวดบรรจุน้ำลงไปในถังขวดจะไปแทนที่น้ำ ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น และดันให้ลูกลอยปิดวาวล์น้ำเร็วขึ้น การใช้น้ำชำระทุกครั้งจะทำให้ประหยัดน้ำได้อย่างน้อย เท่ากับน้ำที่บรรจุอยู่ในขวด

การรักษาความสะอาดห้องสุขาและห้องอาบน้ำ ควรใช้แปรงสำหรับขัดถูคราบสบู่หรือหินปูนทุกวันหรือสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาเคมีใดๆเพราะอาจทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในถังเกรอะและถังกรองให้ตายได้ ทำให้กระบวนการย่อยสลายกากตะกอน และสิ่งปฏิกูลผิดปกติ ทำให้เกิดปัญหาถังสุขาเต็มหรือท่อสุขาอุดตันบ่อยๆ

 

ที่มา : http://arts.kmutt.ac.th/ssc210

ผลกระทบจากขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม

ขยะ เศษวัสดุ ของเสีย มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ เนื่องจากการขยายตัวของเมืองการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย การอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น หากใช้วิธีกำจัดที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา

น้ำเสียจากกองขยะ ( Leachate ) มีความสกปรกสูง มีสภาพเป็นกรด มีเชื้อโรค หากน้ำจากขยะรั่ว ไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม เป็นผลให้เกิดอันตรายและเกิดมลพิษในบริเวณที่ปนเปื้อน ดังในแหล่งทิ้งขยะของเทศบาลต่าง ๆ ที่เอาขยะไปเทกองไว้เป็นภูเขาขยะ น้ำจากขยะจะไหลซึมออกทางบริเวณข้างกอง ส่วนหนึ่งก็ซึมลงสู่ใต้ดิน ในที่สุดก็ไปปนเปื้อนกับน้ำใต้ดินเกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้านที่บริโภคน้ำ ถ้าน้ำจากกองขยะไหลซึมลงสู่แหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียง ก็จะทำให้น้ำในแหล่งน้ำนั้นเน่าเสีย
ถ้าปนเปื้อนมากถึงขนาดก็จะทำให้สัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด พืชน้ำ ตายได้ เพราะขาดออกซิเจน และขาดแสงแดดที่จะส่งผ่านน้ำ เนื่องจากน้ำมีสีดำ หากน้ำขยะมีการปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคของ ชุมชน ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพน้ำมากขึ้น
ขยะมูลฝอยที่ทำให้เกิดมลพิษในอากาศ กองขยะมูลฝอยขนาดมหึมาของเทศบาล จะเกิดการหมัก โดยจุลินทรีย์ในกองขยะจะเกิดก๊าซต่าง ๆ เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หากไม่มีการกำจัดก๊าซเหล่านี้อย่างเหมาะสม ก๊าซที่เกิดขึ้นได้แก่ มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า ) เป็นต้น และยังมีฝุ่นละอองจากกองขยะ ก่อให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง แก่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณ ใกล้เคียง

ขยะมูลฝอยก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์หลายประการดังต่อไปนี้ คือ

1. เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง และพาหะของโรค
ขยะ เศษวัสดุ ของเสีย มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ เนื่องจากการขยายตัวของเมืองการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย การอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น หากใช้วิธีกำจัดที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา

เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับขยะมูลฝอยมีโอกาสที่จะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้นได้ เพราะขยะมูลฝอยมีทั้งความชื้นและสารอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ใช้เป็นอาหาร ขยะพวกอินทรีย์สารที่ทิ้งค้างไว้ จะเกิดการเน่าเปื่อยกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน นอกจากนั้นพวกขยะที่ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะเป็นที่อยู่อาศัยของหนู โดยหนูจะเข้ามาทำรังขยายพันธุ์ เพราะมีทั้งอาหารและที่หลบซ่อน ดังนั้นขยะที่ขาดการเก็บรวบรวม และการกำจัด จึงทำให้เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญของเชื้อโรค แมลงวัน หนู แมลงสาบ ซึ่งเป็นหาหะนำโรคมาสู่คน

2. เป็นบ่อเกิดของโรค

เนื่องจากการเก็บรวบรวมและการกำจัดขยะมูลฝอยไม่ดี หรือปล่อยปละละเลยทำให้มีขยะมูลฝอยเหลือทิ้งค้างไว้ในชุมชน จะเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ตับอักเสบ เชื้อไทฟอยด์ เชื้อโรคเอดส์ ฯลฯ เป็นแหล่งกำเนิดและอาหารของสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน เช่น แมลงวัน แมลงสาบ และหนู เป็นต้น

3. ก่อให้เกิดความรำคาญ

ขยะมูลฝอย การเก็บรวบรวมได้ไม่หมดก็จะเกิดเป็นกลิ่นรบกวน กระจายอยู่ทั่วไปในชุมชน นอกจากนั้นฝุ่นละอองที่เกิดจากการเก็บรวบรวมการขนถ่าย และการกำจัดขยะก็ยังคงเป็นเหตุรำคาญที่มักจะได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในชุมชนอยู่เสมอ อีกทั้งอุดจาดตาน่าขยะแขยง

4. ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ขยะมูลฝอยเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษของน้ำ มลพิษของดิน และมลพิษของอากาศ เนื่องจากขยะส่วนที่ขาดการเก็บรวบรวม หรือไม่นำมากำจัดให้ถูกวิธี ปล่อยทิ้งค้างไว้ในพื้นที่ของชุมชน เมื่อมีฝนตกลงมาจะไหลชะนำความสกปรก เชื้อโรค สารพิษจากขยะไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำเกิดเน่าเสียได้ และนอกจากนี้ขยะมูลฝอยยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพดิน ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของขยะมูลฝอย ถ้าขยะมีซากถ่านไฟฉาย ซากแบตเตอรี่ ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์มาก ก็จะส่งผลต่อปริมาณโลหะหนักพวกปรอท แคดเมียม ตะกั่ว ในดินมาก

ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์ในดิน และสารอินทรีย์ในขยะ มูลฝอยเมื่อมีการย่อยสลาย จะทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดในดิน และเมื่อฝนตกมาชะกองขยะมูลฝอยจะ ทำให้น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลปนเปื้อนดินบริเวณรอบ ๆ ทำให้เกิดมลพิษของดินได้ การปนเปื้อนของดิน ยังเกิดจากการนำมูลฝอยไปฝังกลบ หรือการยักยอกนำไปทิ้งทำให้ของเสียอันตรายปนเปื้อนในดิน ถ้ามีการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันมีสารพิษทำให้คุณภาพของอากาศเสีย ส่วนมลพิษทางอากาศจากขยะมูลฝอยนั้น อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากมลสารที่มีอยู่ในขยะและพวกแก๊สหรือไอระเหย ที่สำคัญก็คือ กลิ่นเหม็นที่เกิดจากการเน่าเปื่อย และสลายตัวของอินทรีย์สารเป็นส่วนใหญ่

5. ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อสุขภาพ

ขยะมูลฝอยที่ทิ้งและรวบรวมโดยขาดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะมูลฝอยพวกของเสียอันตราย ถ้าขาดการจัดการที่เหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ง่าย เช่น โรคทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีแมลงวันเป็นพาหะ หรือได้รับสารพิษที่มากับของเสียอันตราย

6. เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ

ขยะมูลฝอยปริมาณมาก ๆ ย่อมต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดการเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผลกระทบจากขยะมูลฝอยไม่ว่าจะเป็นน้ำเสีย อากาศเสีย ดินปนเปื้อนเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
7. ทำให้ขาดความสง่างาม
การเก็บขนและกำจัดที่ดีจะช่วยให้ชุมชนเกิดความสวยงาม มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยอันส่อแสดงถึงความเจริญและวัฒนธรรมของชุมชน ฉะนั้นหากเก็บขนไม่ดี ไม่หมด กำจัดไม่ดี ย่อมก่อให้เกิดความไม่น่าดู ขาดความสวยงาม บ้านเมืองสกปรก และความไม่เป็นระเบียบ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ที่มา : http://www.npc-se.co.th/knowledge_center/npc_knowledge_detail.asp?id_head=3&id_sub=25&id=667

เมื่อขยะล้นเมือง

ผู้เขียน: กรรณิการ์ พลอยสว่าง (นักศึกษาฝึกงาน)

เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ฉันมีโอกาสได้เข้าร่วมงาน“บางกอกแหวกแนว” เทศกาลแห่งความคิด ซึ่งจัดขึ้นที่ มิวเซียมสยาม บ้านจักรพงษ์และโรงเรียนราชินี ขอบอกเลยว่างานนี้ไม่ได้เก๋แต่ชื่อ หรือมีแค่สินค้าเก๋ๆ กิจกรรมบันเทิงสนุกๆ เท่านั้น แต่ยังมีการจัดเสวนาเล็กๆ แยกย่อยไปหลายเรื่องตามความสนใจ

เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้แลกเปลี่ยนความคิดให้เฟื่องฟูเหมือนคำโปรยของชื่องาน ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากแต่ละห้องเสวนาไม่เล็กเอาซะเลย หนึ่งในห้องที่ฉันเลือกฟัง เสวนากันในหัวข้อ “กรุงเทพฯ แนวไหน?” นอกจากเนื้อหาจะใกล้ตัวเรามากๆ แล้ว ในสภาพสังคมที่ผู้คนมีความคิดมีรสนิยมไม่เหมือนกัน การจัดงานแบบนี้จึงอาจเป็นตัวเชื่อมความแตกต่างให้อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว หลังฟังเสวนาแล้วก็เกิดแรงบันดาลใจให้ฉันคิดฟุ้งมากมายเกี่ยวกับปัญหาขยะล้นเมือง วันนี้เลยอยากแชร์แรงบันดาลใจนั้นให้ได้อ่านกันค่ะ

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า เมื่อก่อนฉันใช้ความเป็นชนบทของตัวเองวาดภาพกรุงเทพฯ ว่ามันควรจะไม่มีรถติดแออัด เหมือนเช่นที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน แต่เมื่อได้ร่วมเขียนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนในการเสวนาภายใต้คำถาม “กรุงเทพฯ แนวไหนที่เราอยากได้?” ดูเหมือนผู้คนไม่ได้กังวลถึงปัญหารถติดมากเหมือนกับที่ฉันคิด คำตอบของผู้เข้าร่วมฟังเสวนากล่าวถึงมากที่สุดคือ อยากให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองสีเขียว สะอาดปลอดภัย และพร้อมรับมือกับภัยพิบัติได้ และเหตุผลอื่นๆ รองลงมา เช่น เป็นเมืองหนังสือ หรือมีพื้นที่สาธารณะสำหรับทำกิจกรรมร่วมกันเพิ่มขึ้น เเละอื่นๆ อีกมากที่ยังไม่ได้กล่าว

“เมือง” ถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างที่ ผู้ดำเนินรายการ (ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ประธานมูลนิธิโลกสีเขียว) พูดจริงๆ เพราะเมืองเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การปกครอง และวัฒนธรรม ฉันรู้สึกเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการเปรียบเปรยเมืองที่แผ่ขยายไปทุกทิศทาง ว่าเป็นเหมือน ปรสิตหรือพยาธิ เรารู้ดีว่ามันย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก การเติบโตของเมืองสูบใช้ทรัพยากรรอบข้างอย่างมหาศาล มากถึงร้อยละ 75 ของที่มนุษย์บริโภคทั้งหมด ไม่วายเมืองยังโยนภาระอันหนังอึ้งให้กับโลก ด้วยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ แถมยังก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลในแต่ละปี เรียกได้ว่า ขยะทั่วโลกครึ่งหนึ่งเป็นผลผลิตมาจากเมืองนี่เอง และนี่คงเป็นเหตุให้ เมืองสะอาด เป็นคำตอบของความต้องการ ในกระดาษโพสต์อิท แผ่นน้อย ของหลายๆ คน ในห้องเสวนานี้

ปัจจุบันประชากรของโลกมีการเคลื่อนย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองมากกว่าชนบท ประเทศไทยเอง ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นเช่นนั้น เท่ากับว่าตอนนี้เมืองเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายของคน ทั้ง เพศ วัยศาสนา และวัฒนธรรมต่างๆ ในความหลากหลายนี้เอง ที่ก่อให้เกิดขยะขึ้น เราลองมาดูข้อมูลภาพรวมขยะในกรุงเทพฯกัน

เว็บไซต์ “กรุงเทพมหานคร” (BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION) ระบุปริมาณขยะในกรุงเทพฯ ไว้ว่า ในปี 2557 กรุงเทพฯ มีปริมาณขยะ 3,626,027 ตันต่อปี เฉลี่ยแล้วคนกรุงเทพฯ ผลิตขยะวันละ 9,934 ตันต่อวัน นอกจากนี้ยังมีประมาณการปริมาณขยะในปี 2558-2560ว่ามีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นทุกปีอีกด้วย (สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000130/Logo/statistic/stat2557(thai).pdf)

ประเด็นหนึ่งในวงเสวนาที่น่าสนใจคือ ข้อมูลการเก็บขนขยะจากคุณสฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการด้านการพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ จำกัด หนึ่งในผู้ร่วมเสวนาที่ว่า จำนวนบุคลากรที่เก็บขนขยะในกรุงเทพมีประมาณ 10,200 คน แบ่งเป็นพนักงานเก็บขน ประมาณ 7,700 คน (ส่วนที่เหลือเป็นพนักงานขับรถ) เท่ากับว่าพนักงานเก็บขยะ 1 คน จะต้องเก็บขนขยะให้เรามากถึง 1.29 ตันต่อวัน หลังจากฟังข้อมูลนี้แล้ว แน่นอนว่าฉันนึกภาพขยะปริมาณมหาศาลได้ชัดขึ้นมากทีเดียว

ปัจจุบัน…กรุงเทพฯ ปัดภาระการจัดการด้วยการส่งต่อขยะไปทิ้งในจังหวัดใกล้เคียงอย่าง นครปฐม สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา ทำให้ที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวปัญหาวิกฤตขยะในจังหวัด ฉะเชิงเทราและสมุทรปราการอยู่บ่อยๆ ซึ่งที่จริงแล้ว นั่นคือขยะของชาวกรุงฯ นี่แหละ นอกจากนี้ยังมีปัญหาไฟไหม้บ่อขยะซ้ำซากและพบการลักลอบทิ้งขยะอุตสาหกรรมอยู่เสมอ ขยะที่กรุงเทพฯ พยายามผลักออกไปมันได้กลายเป็นภาระอันหนักอึ้งที่เพื่อนจังหวัดข้างเคียงต้องแบกรับผลกระทบ ยังไม่นับว่าขยะกองมหึมานี้ ส่งกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งกระจายเชื้อโรค กลายเป็นสิ่งแปลกปลอมในธรรมชาติ หรือส่งผลเสียหายในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมขนาดไหน ถ้าจะยกตัวอย่างผลเสียให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนี้ ฉันคิดว่าเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่บ่อขยะแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อช่วง 16-22 มีนาคม 57 ที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างที่ดีทีเดียว

เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ แน่นอนว่าผลกระทบของมันคือสร้างความเสียหายให้กับบ่อขยะและพื้นที่บริเวณนั้น ควันไฟที่ลอยคละคลุ้ง ไม่ใช่แค่ส่งกลิ่นเหม็นแต่เต็มไปด้วยมลพิษ สร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง เว็บไซต์สำนักข่าวออนไลน์ ไทยพับลิก้า ระบุว่า “ผลตรวจสอบคุณภาพอากาศโดยกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ในช่วงที่เกิดเหตุเพลิงไหม้พบว่า ชุมชนในรัศมี 1 กิโลเมตรรอบบ่อขยะ มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐาน 20-30 เท่า และพบฝุ่นขนาดเล็กมากปริมาณถึง 350 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่ามาตรฐาน 30 เท่า โดย คพ. ระบุว่าอยู่ในขั้นวิกฤติ และควรอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัศมี 1.5 กิโลเมตรรอบบ่อขยะออกจากพื้นที่” (สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://thaipublica.org/2014/08/praksa-1/)

เห็นได้ชัดว่าขยะที่เราทิ้งส่งผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อมขนาดไหน ฉันคิดว่าถ้าเรารับผิดชอบกับขยะในมือเราให้มากขึ้น โดยการทำให้มันเกิดประโยชน์  มากกว่าที่จะเป็นแค่สิ่งด้อยค่ารอเวลาถูกทำลาย เหมือนที่ผ่านมา ที่มีตัวอย่างการจัดการขยะที่น่าชื่นชมปรากฏให้เราได้เห็นอยู่ไม่น้อยทีเดียว

ภายใต้ สโลแกน ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ ปัจจุบันองค์กรต่างๆ โรงเรียน ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างก็ส่งเสริมให้บุคลากร ประชาชน นักเรียน นักศึกษา จัดการขยะอย่างถูกวิธี ไม่ใช่แค่ภายในโรงเรียนหรือภายในบริษัทเท่านั้น แต่หมายถึงทุกที่ทุกเวลา การจัดการขยะมีหลายวิธี บางวันเราอาจทำไปบ้างแล้วโดยที่ไม่ได้คิดอะไร หากต้องการจัดการขยะง่ายๆ ด้วยตัวเอง ฉันคิดว่าต้องเริ่มจากการคุมกำเนิดขยะให้มีน้อยที่สุด เริ่มจากการพกถุงผ้าไปซื้อของลดการใช้ถุงพลาสติก เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดขยะมาก เช่น จะดื่มนมถั่วเหลือง แทนที่จะซื้อแบบกล่องหรือแบบ Take away ก็ซื้อแบบคืนขวดแทน หรือไม่ก็พกกระติกไปอุดหนุนอาแปะรถเข็นขายน้ำเต้าหู้ข้างทางก็ยิ่งดี เพราะนอกจากจะไม่สิ้นเปลืองจากแพ็กเกจแล้ว ยังไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานในการขนส่งและเก็บรักษาจากโรงงานสู่ตู้แช่ในร้านสะดวกซื้อ ลองนึกดูเราสามารถลดการเกิดขยะได้อย่างไรอีกบ้าง หลายอย่างเราเริ่มทำได้ด้วยตนเองเพียงตระหนักสักนิด เปลี่ยนพฤติกรรมสักหน่อย วิธีลดขยะนี้ถือเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นทางโดยตรง

แต่หากมีขยะเกิดขึ้นแล้ว เราก็ต้องหาประโยชน์จากมันให้ได้มากที่สุด เริ่มจากการแยกขยะหากแยกประเภทได้ดี เราย่อมสามารถนำขยะเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ต่อได้ง่าย แม้หลายคนอาจเอือมระอาที่บ้านเมืองเรา ยังขาดระบบคัดแยกขยะที่ดีเหมือนเมืองนอก แต่แท้จริงแล้วเรายังพอมีช่องทางที่ทำให้การแยกขยะของเราไม่เสียแรงโดยเปล่าประโยชน์ เช่น เอาขยะเศษอาหารที่ย่อยสลายได้ไปทำปุ๋ย เก็บขวดแก้ว พลาสติก กระดาษ โลหะ จัดแยกให้ดีแล้วนำไปขายซาเล้ง เงินที่ได้มาอาจไม่มากนัก แต่นั่นเป็นการรับรองว่าขยะทุกชิ้นที่เขาซื้อไปจะต้องกลับสู่กระบวนการผลิตใหม่ (Recycle) อย่างแน่นอน

ขยะบางประเภทก็ไม่ควรได้ชื่อว่าเป็นขยะเพียงเพราะถูกใช้ไปแค่ครั้งเดียวมันสามารถนำมาใช้ซ้ำหรือดัดแปลงให้มีประโยชน์ด้านอื่นได้ไม่ยาก

กองขยะกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตาที่บ่อขยะแพรกษาและที่อื่นๆ อาจดูไกลหูไกลตาจนเราอาจเผลอไม่รับรู้ผลจากน้ำมือของตนเองเราต้องรอจนถึงวันที่ตื่นเช้ามามองเห็นภูเขาขยะอยู่หน้าบ้านเสียก่อนหรือจึงจะสนใจไตร่ตรองอย่างจริงจังถึงเวลาแล้วหรือยังคะที่เราจะไม่ยอมเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาอีกต่อไปกรุงเทพฯแนวไหนที่เราอยากเห็นอาจไม่สำคัญเท่าเราได้ลงมือทำอะไรสักอย่างหรือยังเพื่อให้กรุงเทพฯเป็นดังฝันดั่งที่ใจเราปรารถนาฉันแบ่งปันเรื่องนี้ด้วยความหวังว่าจะมีส่วนในการแก้ไขปัญหาแม้จะเป็นกระบอกเสียงเล็กๆในสังคมแต่ถ้าไม่เริ่มที่ตนเองแล้วเราจะไปหวังอะไรกับใครได้

 

… ขยะในมือจะเกิดประโยชน์ หรือสร้างภาระ คุณคือผู้ตัดสินใจ 

 

ที่มา : http://greenworld.or.th/green_issue

“ล้างมหาสมุทร” โดยฝีมือเด็กอายุ 19 ปีกับ Ocean Cleanup Project

เรื่องราวของเด็กหนุ่มอายุ 19 ปีคนหนึ่ง กับแนวคิดวิธีกำจัดขยะในท้องทะเล
จนนำไปสู่การระดมทุนกว่า 2.2  พันล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐ จาก 160 ประเทศทั่วโลก ได้ในระยะเวลาเพียง 100 วันเท่านั้น

จากแรงบันดาลใจง่ายๆ ที่อยากทำให้ท้องทะเลสะอาด สู่การประดิษฐ์โครงสร้างที่จะกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ลอยน้ำที่ขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์และจะแก้ไขปัญหาที่ผู้ใหญ่หลายคนพยายามแก้มาเป็นสิบๆ ปี อะไรทำให้เด็กอายุ 19 ปี สร้างสิ่งใหญ่โตและระดมทุนกว่า 7.6 พันล้านบาทได้ในระยะเวลาเพียง 100 วัน? iUrban ขอนำเสนอเรื่องของเด็ก คนหนึ่งและโครงการพันล้านของเขา ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่กว่า 90% ของนกทะเลทั่วโลก ได้เผลอกินขยะพลาสติกเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นอาหาร | Photograph: Chris Jordan/Midway: Message from the Gyre

คุณคิดว่าขยะที่มนุษย์เราทิ้งลงทะเลไปอยู่ไหน?

เชื่อไหมว่า? ในแต่ละปี มนุษย์ทิ้งขยะพลาสติกกว่า 300 ล้านตัน
เชื่อไหมว่า? ในแต่ละปี นกทะเลกว่า 1 ล้านตัวต้องตายด้วยขยะพลาสติกเหล่านั้น
เชื่อไหมว่า? ในแต่ละปี มีสัตว์น้ำจำนวนมหาศาลที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติก
เชื่อไหมว่า? ในแต่ละปี ที่มีการทิ้งขยะพลาสติกในแนวชายฝั่ง ขยะชิ้นนั้นจะใช้เวลาเดินทางกว่า 50 ปีไปอยู่กลางมหาสมุทร และแน่นอนว่า เราไม่มีทางรู้เลย
เชื่อไหมว่า? ทุกวันนี้ มีขยะพลาสติกกว่า 5 ล้านล้านชิ้น ลอยอยู่กลางมหาสมุทร ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลและถูกคำนวณไว้ว่าต้องใช้เวลากว่าพันปีในการล่องเรือเก็บ


สภาพชายหาดหลายๆ แห่งในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยขยะพลาสติก | Photograph: Barbara Walton/EPA

ในปี 2011 เด็กหนุ่มวัย 16 ปี Boyan Slat นักศึกษาวิศวกรรมอากาศยาน (Aerospace Engineer) จากเนเธอแลนด์ ได้ไปท่องเที่ยวทะเลชายฝั่งประเทศกรีซ ในขณะที่เขาดำน้ำอยู่นั้นก็พบว่า.. ท่ามกลางทะเลสีฟ้าใสสะอาด เขากลับนับจำนวนปลาได้น้อยกว่าขยะพลาสติกเสียอีก..


Boyan Slat ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ The Ocean Cleanup เด็กหนุ่มวัย 19 ปี (ในขณะริเริ่มโครงการ) | Photograph: The Ocean Cleanup

Boyan จึงได้เก็บเรื่องนี้มาเป็นแรงพลักดัน ในการหาวิธีที่ง่ายและได้ผลจริง ในการกำจัดขยะพลาสติกให้ได้มากที่สุดออกจากทะเล เขาลงมือศึกษามหาสมุทรจริงๆ ทั้งด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิต เขาพบสิ่งที่นักสมุทรศาสตร์เรียกกันว่า gyres ซึ่งก็คือวังวนของน้ำในมหาสมุทร ที่ผิวน้ำจะเคลื่อนที่ไปเป็นวง อันเนื่องมาจากกระแสลม กระแสน้ำ และภูมิประเทศ ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่ลอยไปกับน้ำ ก็มักจะเดินทางไปกับ gyres นี่ด้วย เช่นเหล่าแพลงตอนต่างๆ


5 Gyres หลักของโลก ในระบบของกระแสน้ำวนนี้ล้วนทำให้ก่อเกิดวัฏจักรของทะเล

เพราะทะเลไม่ได้หยุดนิ่ง

อุปสรรคต่อการเก็บขยะพลาสติกนั้นนอกจากจะเป็นเรื่องจำนวนมหาศาลแล้ว ยังมีเรื่องการเคลื่อนที่ เพราะน้ำทะเลไม่เคยหยุดนิ่ง มันมีการเคลื่อนที่ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง สารอาหารจากกลางทะเลลึกจะค่อยๆ เดินทางไปตามเส้นทางน้ำ ค่อยๆโผล่พ้นน้ำและลอยมาสู่ชายฝั่ง กระทบริมฝั่ง จากนั้นจะเคลื่อนตัวหวนกลับคืนสู่ทะเลในอีกเส้นทาง พวกมันจะเดินทางอย่างเชื่องช้าเรื่อยๆ และในที่สุดก็จะมาถึงและค่อยๆ จมลงที่ตรงใจกลาง gyres นี้เอง ซึ่งกระบวนการจนมาถึงจุดนี้ต้องใช้เวลานับสิบปีและวนเวียนต่อไปเรื่อยๆ


เส้นทางการเดินทางของสายน้ำ จุดสีหลืองแทนขยะพลาสติก จะเห็นถึงจำนวนมหาศาลของมัน ซึ่งขยะพวกนี้จะจับตัวกันไปแพอยู่กลาง Gyres

น้ำจะเดินทางจากจุดหนึ่งสู่อีกจุด จากทะเลหนึ่งสู่อีกทะเล ขึ้นสูง ลงต่ำ ตามอุณหภูมิ ตามเส้นทางตัวเอง ซึ่งจะใช้เวลาถึง 1,000 ปีจึงจะครบ 1 รอบ ทำให้ขยะพลาสติกต่างๆ ที่เราทิ้ง ไม่ได้กองอยู่ที่ชายหาดให้เราเดินตามเก็บง่ายๆ หรืออยู่ให้เราตระหนักว่ามันมีจำนวนเท่าไหร่ เพราะเพียงไม่นาน มันก็หายลับจากตาเราไปแล้ว นอกจากอุปสรรคด้านจำนวนและการเคลื่อนที่แล้ว ยังมีปัญหาเรื่องจำนวนทุนที่ต้องใช้จัดการ และที่สำคัญการไปเก็บนั้น บางทีก็เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศมากกว่าปล่อยไว้แบบนั้นก่อนด้วยซ้ำ เพราะเครื่องมือที่หลายคนช่วยกันคิดค้น อาจทำให้สัตว์น้ำเช่นเต่าทะเล นก และปลาตายได้

แต่ขยะพลาสติกนั้น แม้จะมีจำนวนมาก หลายสี หลายรูปแบบ หลายประเภท แต่มันมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ ..มันลอยน้ำ

ภัยอันตรายต่อสัตว์น้ำ จากความมักง่ายของมนุษย์บางคน

ขยะพลาสติกมีหลากหลายรูปร่าง ขนาด สีสัน คุณสมบัติ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ เกือบทั้งหมดนั้น มันลอยน้ำ

พลิกวิกฤติ เป็นโอกาส กับนวัตกรรมจากมันสมองเด็ก

จากเรื่องกระแสน้ำวนหรือ gyres นั้น Boyan จึงปิ๊งไอเดีย! เขาพบว่าขยะจำนวนมหาศาลจะลอยไปเป็นแพกลาง gyres เนื่องจากพลาสติกเหล่านั้น ไม่สามารถจะจมลงไปพร้อมกับน้ำที่พามันมาจากชายฝั่งได้ ทำให้ขยะทุกชิ้นจากชายฝั่งรอบๆ นั้น จะลอยตามกระแสน้ำ แล้วมาลอยหยุดนิ่งเป็นแพกันหมดซึ่งถูกเรียกว่า Ocean Garbage Patches


ภาพแสดงกระแสน้ำของมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดของโลก มหาสมุทรแปซิฟิก เราจะเห็นแพขยะกลางน้ำ (Ocean Gabage Patch) ใหญ่ๆ 2 จุด ใกล้เกาะฮาวายและเกาะญี่ปุ่น

พื้นที่สีส้มแทนส่วนหนึ่งของแพขยะกลางมหาสมุทรแปซิฟิกในปัจจุบัน ลองจินตนาการถึงขนาดของมันที่ใหญ่พอๆ กับรัฐแท็กซัสเลยทีเดียว

ภาพเคลื่อนไหวแสดงการไหลของขยะพลาสติกโดยนาซ่า ในระยะเวลา 35 ปีที่ผ่านมา

ไอเดียกำจัดขยะง่ายๆ แต่ได้ผล

และวิธีที่เขาคิดก็แสนจะเรียบง่าย เหมือนที่คนไทยใช้กับผักตบชวา! นั่นก็คือสร้างทุ่นลอยน้ำพร้อมกับแขน ขยะพลาสติกที่ไม่สามารถพาตัวเองดำน้ำได้ ก็จะลอยติดกับแขนนั้น กระแสน้ำจะพัดพวกมันเข้าสู่กระบวนการต่อไป ส่วนสัตว์น้ำที่มาพร้อมๆ กัน ก็จะสามารถมุดผ่านไปได้เลย ง่ายๆ แค่นี้เอง!


ขยะลอยน้ำริมชายฝั่งอ่าวมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ | Photograph: Erik de Castro/Reuters

ไม่ใช่แค่คิด แต่ลงมือเลย

เขาเริ่มออกแบบทุ่นลอยน้ำอยู่กับที่ ที่ใช้กระแสน้ำและกำลังลมพัดพาขยะพลาสติกเข้าสู่แขนรูปตัว V ยาว 100 กิโลเมตร ทำให้สามารถดักจับขยะได้ถึง 3 เมตรจากระดับผิวน้ำ โดยไม่ต้องออกแรงอะไรเลย และไม่สร้างความเสียหายต่อชีวิตในผืนน้ำอีกด้วย เพียงแค่วางให้ถูกจุด เราก็ไม่ต้องไปออกแรงตามเก็บ แค่รอให้กระแสน้ำพัดมาหาเราเอง

การทดสอบลากอวนในแพขยะกลางมหาสมุทรเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และนี่คือผลลัพธ์ที่ได้ | Photograph: The Ocean Cleanup

ทุนกำจัดขยะเพียง 167 บาทต่อกิโลกรัม

ปี 2012 เขาได้ขึ้นพูดเพื่อนำเสนอไอเดียนี้ที่งาน TEDx Talk ประเทศเนเธอร์แลนด์ กับโครงสร้างกว้าง 100 กิโลเมตร ที่จะกำจัดขยะในมหาสมุทรได้ถึง 42% ซึ่งมีน้ำหนักกว่า 70,320,000 กิโลกรัม (70 ล้านกิโลกรัม) ที่กำลังล่องลอยอยู่ในมหาสมุทรมานานนับทศวรรต ซึ่งวิธีนี้จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 4.53 ยูโรต่อกิโลกรัม (ราว 167 บาท) เท่านั้น คิดเป็น 3% เมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ ก่อนหน้า การพูดครั้งนี้ส่งผลให้มีคนให้ความสนใจอย่างล้นหลาม เกิดกระแสไวรัลทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เขาได้รับการสนับสนุนทางการเงินรวมทั้งได้คนมาร่วมทีมนับร้อยคน

ปี 2013 เขาตัดสินใจพักการเรียนในมหาวิทยาลัย เพื่อมาก่อตั้งองค์กร The Ocean Cleanup อย่างเป็นทางการ โดยทำหน้าที่บริหารงานเองทั้งหมดอย่างเต็มตัว

ด้วยการออกแบบนี้ จะทำให้สามารถดักจับขยะลอยน้ำได้ โดยสัตว์น้ำต่างๆ ยังสามารถลอดผ่านไปได้โดยไม่มีอันตราย

ด้วยโครงการนี้ จะสามารถกำจัดขยะกว่า 42% บนแพขยะกลางมหาสุมทรแปซิฟิกได้ในเวลา 10 ปี ซึ่งเป็นขยะน้ำหนักกว่า 70,320,000 กิโลกรัม

จากเด็กหนุ่มวัย 19 ปี จนถึงตอนนี้ผู้เป็นเจ้าของโครงการที่มุ่งจะรักษาโลกนี้ไว้

ทีมงานอาสาสมัครและนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกว่า 100 คนตบเท้าเข้ามาร่วมโครงการนี้และมุ่งมั่นทำงานกันอยู่ในขณะนี้

เมื่อก้าวแล้ว ก็ไม่ถอย

จากนั้น ในปี 2014 ด้วยฝีมือเขาและเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ร่วมทีมกว่า 100 คน “เครื่องกำจัดขยะรุ่นทดสอบ” เครื่องแรกขนาด 40 เมตร ก็ได้ฤกษ์ลอยตัวสู่ผิวน้ำ ใกล้เกาะ Azores ในเดือนมีนาคมปีนั้นเอง อีกสามเดือนให้หลัง พวกเขาได้ร่วมกันเขียนรายงาน 530 หน้าถึง “ความเป็นไปได้ที่จะทำความสะอาดทะเลจากขยะพลาสติก โดยไม่สร้างความเสียหายต่อชีวิตในท้องทะเล” โดยมีเป้าหมายจะกำจัดแพขยะกลางทะเลแปซิฟิคในเวลา 10 ปี ในชื่อ “INDICATING THE CONCEPT IS LIKELY A VIABLE WAY TO CLEAN UP HALF THE GREAT PACIFIC GARBAGE PATCH”


อาสาสมัครกำลังเก็บตัวอย่างของขยะที่ได้มาเพื่อทำการทดสอบต่อไป | Photograph: The Ocean Cleanup

หลังการเผยแพร่รายงานนี้ Boyan Slat ได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากนักลงทุนกว่า 38,000 คนจาก 160 ประเทศทั่วโลก เป็นเงินถึง 2.2 พันล้านดอลลาร์ ภายในระยะเวลาเพียง 100 วันเท่านั้น ทำให้ขณะนี้ พวกเขากำลังดำเนินการระยะ 2 ด้วยการติดตั้งเครื่องที่มีใหญ่ขึ้น ซึ่งมีขนาดถึง 2 กิโลเมตร ที่ประเทศญี่ปุ่น เครื่องกำจัดขยะนี้จะทำสถิติ โครงสร้างลอยน้ำจากฝีมือมนุษย์ที่ยาวที่สุดในโลก (แต่ยังห่างไกลจาก 100 กิโลเมตรที่ต้องการอยู่ กระนั้นก็ถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่อีกก้าวหนึ่ง เพื่อจะให้ถึงเป้าหมายในอนาคต)

เครื่องกำจัดขยะลอยน้ำความยาว 2 กิโลเมตร ณ เกาะสึชิมะ ประเทศญี่ปุ่นนี้ จะกลายเป็นโครงสร้างลอยน้ำจากฝีมือมนุษย์ที่ยาวที่สุดในโลกเมื่อติดตั้ง~สำเร็จ | Photograph: Erwin Zwart/The Ocean Cleanup

ในขณะเดียวกันทีมงานบางส่วนก็ได้ล่องเรือไปยัง North Atlantic Gyre เพื่อสำรวจความเป็นไปได้เพิ่มเติมเป็นระยะๆ กับโปรเจคใหม่ที่กำลังทำเป็นปฏิบัติการคู่ขนานที่มีหน้าที่ติดตามการลอยน้ำของขยะพลาสติก

โดยโครงการนี้คาดหมายว่าจะเริ่มดำเนินการเต็มรูปแบบได้ในปี 2020

การทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อให้เครื่องกำจัดขยะที่สร้างมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อติดตั้งลงทะเลจริง

Mega Expedition โครงการใหม่เพื่อวิจัยการเกิดขยะและการไหลของขยะในทะเล เป็นโคตรงการที่จะทำคู่ขนานไปกับการกำจัดขยะ

ภารกิจ MEGA EXPEDITION

อย่างไรก็เป็นเรื่องที่ต้องตระหนักว่าขยะพลาสติกนั้น ใช้เวลากว่า 50 ปีในการเดินทางจากชายฝั่งสู่ใจกลาง gyres นั่นหมายความว่า ขยะที่เรากำจัดในวันนี้เป็นของราว 50 ปีที่แล้วและเมื่อเมื่อถึงวันที่ที่เรากำจัดหมดแล้ว ขยะล็อตใหม่ก็จะมาอีก ขยะของเมื่อวาน ขยะของวันนี้..

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ Boyan ย้ำกับพวกเราคือ “การแก้ที่ดีที่สุดคือการแก้ที่ต้นทาง แก้ที่เรา แก้ที่การเลิกทิ้งตั้งแต่แรก” เพราะกว่าจะตามเก็บได้ มันใช้ระยะเวลามากเหลือเกิน

จากเพียงไอเดียแรกที่โดนกล่าวหาว่าเป็นเพียงโครงการโรงเรียนมัธยมเท่านั้น สู่การระดมทุนและกำลังจะช่วยเหลือโลกใบนี้ ฉะนั้นแล้วอย่าดูถูกไอเดียตัวเอง iurban ขอสนับสนุนให้ผู้อ่านทุกท่านร่วมกันสร้างไอเดียและศึกษาความเป็นไปได้ให้กับบ้านของพวกเรา เหมือนเช่นหนุ่มน้อย Boyan Slat คนนี้

ปี 2015 Boyan ได้รับรางวัล London’s Design Museum′s Design of the Year awards ในฐานะผลงานออกแบบที่สร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงแห่งปี ชนะรางวัล Fast Company’s 2015 Innovation by Design award และถูกเลือกให้เป็น 25 สุดยอดสิ่งประดิษฐ์ในปี 2015 โดยนิตยสาร TIME

Boyan Slat ได้รับการยอมรับให้เป็น 1 ใน 20 ผู้ประกอบการเยาวชนอันป็นความหวังของโลก (Promising Young Entrepreneurs Worldwide) และเป็น Champion of the Earth ประจำปี 2014 จากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติในด้านแรงบันดาลใจและลงมือทำ และรางวัลประกาศเกียรติคุณอีกต่างๆ มากมาย

จากเพียงไอเดียแรกที่โดนกล่าวหาว่าเป็นเพียงโครงการโรงเรียนมัธยมเท่านั้น สู่การระดมทุนและกำลังจะช่วยเหลือโลกใบนี้

ที่มา :
World’s largest ocean cleanup operation one step closer to launch
Too good to be true? The Ocean Cleanup Project faces feasibility questions
http://ecowatch.com/2015/04/08/boyan-slat-ocean-cleanup-plastic/
(วิดีโอ) Nasa animation shows how vast ‘garbage islands’ have taken over the seas in the last 35 years

https://pantip.com/topic/35245132

http://www.iurban.in.th/greenery/oceancleanup/

 

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ในประเทศไทย ในระดับโลก ในระดับทวีป

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับโลก (อ.ดร.อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์,2559)

          ปัญหาขยะกำลังเป็นปัญหาสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัญหาโลกร้อนที่ทุกประเทศกำลังเผชิญและต้องทุ่มเททรัยพากรในการจัดการปัญหาดังกล่าว นอกจากกลิ่นเหม็นรบกวนและเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคแล้ว ปัญหาขยะยังก่อให้เกิดปัญหามลพิษด้านอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางน้ำจากน้ำเสียที่รั่วไหลจากแหล่งเทกองขยะ หรือ ขยะที่ถูกฝังกลบอยู่ใต้ดิน ทำให้คุณภาแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดินแย่ลง นอกจากนี้หากเกิดเพลิงไหม้กองขยะดังเช่นกรณีไฟไหม้กองขยะที่สมุทรปราการก็ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีขยะที่มีสารพิษปะปนอยู่ เนื่องจากไม่มีการคัดแยกขยะอย่างเหมาะสม

ปัญหาขยะนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การขยายตัวของประชากรและการอยู่อาศัยในเขตเมืองซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดปริมาณขยะมากกว่าการอาศัยอยู่ในชนบท การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการแข่งขันในอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ผลิตพยายามพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ๆ ตัวอย่างเช่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือ ที่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราที่เพิ่มขึ้น ธนาคารโลก(2012)[1] รายงานว่าเมื่อปี 1990 โลกของเรา มีประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ประมาณ 220 ล้าน คน หรือคิดเป็น 13% ของประชากรโลก  และก่อให้เกิดขยะประมาณ 300,000 ตันต่อวัน  แต่เพียงสิบปีผ่านไป ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 2.9 พันล้านคน  หรือคิดเป็น  49% ของประชากรโลก ทำให้เกิดปริมาณขยะเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านตันต่อวัน และจากการประมาณการคาดว่าภายในปี 2025 ปริมาณขยะนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งหากจะฉายให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้นว่ามีปริมาณขยะในแต่ละวันมากเพียงใด ก็ขอให้ท่านนึกถึงรถขนขยะที่นำมาเรียงต่อกันเป็นระยะทาง 5,000 กิโลเมตร

ธนาคารโลกได้ทำการประมาณการปริมาณขยะออกไปในปี 2100  ดังแสดงไว้ในภาพที่ 1 ซึ่งแสดงปริมาณขยะของโลกต่อวัน เส้นประสีฟ้าแสดงกรณีที่เศรษฐกิจและสังคมยังคงดำเนินไปอย่างปกติ (business-as-usual : BAU) เส้นสีแดงแสดงกรณีที่ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ เส้นสีเทาแสดงกรณีที่ประชากรเพิ่มขึ้นไม่มาก และมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาพบว่าในกรณี BAU ปริมาณขยะต่อวันจะเพิ่มเป็นมากกว่า 11 ล้านตันต่อวันในปี 2100 เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัวจากปัจจุบัน อย่างไรก็ดีหากเป็นกรณีที่ประชากรเพิ่มขึ้นไม่มาก และ มีมาตรการที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะทำให้ ปริมาณขยะลดลงได้ 2.6 ล้านตันต่อวัน

สำหรับประเทศไทย จากการรวบรวมข้อมูลของ Thaipublica พบว่าในปี 2556 ปริมาณขยะมูลฝอยจากชุมชนมีปริมาณมากที่สุดคือ 26.8 ล้านตัน ในจำนวนนี้มากกว่ากึ่งหนึ่งมิได้ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง สำหรับของเสียอันตรายพบว่าปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนอยู่ที่ประมาณ 0.56 ล้านตันซึ่งส่วนใหญ่เป็นซากผลิตภัณฑ์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนขยะมูลฝอยติดเชื้อมีประมาณ 5 หมื่นตัน  และ ขยะอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม มีอยู่ประมาณ 3 ล้านตัน

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับทวีป

  1.ปัญหาขยะ

ในยุคสมัยที่มีการใช้พลาสติกทั่วไปนั้น มีขยะพลาสติกเป็นปริมาณมากมายท่วมท้นตามที่ทิ้งขยะในประเทศต่างๆ ในเอเชีย และไหลหลุดไปอยู่ในทะเลและเป็นอันตรายต่อสัตว์และพืชในน้ำ

ตอนนี้ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและผู้ประกอบกิจการต่างๆ กำลังพยายามดำเนินงานในการแปรรูปพลาสติกให้กลับสู่สภาพสารประกอบเดิม คือ น้ำมัน

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าในบริเวณตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิค มีขยะพลาสติกสุมอยู่มากมายก่ายกองเป็นบริเวณกว้างขวางใหญ่โตขนาดราวครึ่งหนึ่งของพื้นที่รัฐเท็กซัส หรือราว 1 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศไทย คิดเป็นน้ำหนักรวมแล้วราว 300 ล้านตัน และกำลังเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล  นอกจากนั้น กระแสน้ำในมหาสมุทรยังมีขยะจากบริเวณตอนเหนือของเอเชีย และตอนเหนือของทวีปอเมริกาอีกด้วย

2.การเพิ่มขึ้นของประชากร

การเพิ่มของจานวนประชากรโลก ในปัจจุบันประชากรโลกมีประมาณ 6,700 ล้านคน (พ.ศ.2552) จึงเป็นสาเหตุโดยตรงทาให้เกิดการสูญเสียในทรัพยากรธรรมชาติอย่างรวดเร็ว และเกิดมลพิษของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตามมา สรุปได้ ดังนี้
2.1.1 อัตราการเพิ่มของประชากร ประเทศที่พัฒนาแล้วมีอัตราการเพิ่ม ของประชากรค่อนข้างต่ำเฉลี่ยร้อยละ 0.1 ต่อปี ส่วนประเทศที่กาลังพัฒนามีอัตราการเพิ่ม ของประชากรอยู่ในเกณฑ์สูงเฉลี่ยร้อยละ 1.5 ต่อไป
2.2.2 การเพิ่มของจานวนประชากรในชนบท ทาให้ผู้คนในชนบทอพยพเข้ามาหางานทาในเมืองเกิดการขยายตัวของชุมชนเมืองอย่างรวดเร็ว และยิ่งมีการนาเทคโนโลยีมาใช้ ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นก็ยิ่งส่งผลให้เกิดปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตามมา
2.2.3 การเพิ่มของจานวนประชากรส่งผลให้เกิดการแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อนามาใช้ประโยชน์สนองความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เพื่อนามาใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น พื้นที่ป่าลุ่มแม่น้าอะเมซอน (Amazon) ในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งทาให้ทั่วโลกหวั่นวิตกว่าจะเป็นการสูญเสียพื้นที่ปอดของโลก

กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง กับบรรดาผู้ประกอบกิจการจากฮ่องกง จากรัฐคาลิฟอร์เนียในสหรัฐ และจากกรุงลอนดอน จัดตั้งโครงการ Kaisei ขึ้นมาเพื่อแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงดีเซล คำว่า Kaisei เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า “โลกมหาสมุทร”

3.ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ

เป็นการลดลงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เกิดจากการที่คนเรานาเอาทรัพยากร ธรรมชาติเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจกรรมต่างๆ มากมาย โดยขาดความระมัดระวัง ไม่มีการอนุรักษ์ และไม่คานึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทรัพยากร ธรรมชาติเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นประเภทใช้แล้วหมดไปหรือเสื่อมโทรมได้ง่าย กลุ่มที่ 2 ปัญหาการเกิดมลพิษ ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวมักจะเป็นผลจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ที่กระทาต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เช่น การปล่อยน้าเสียออกจากบ้านเรือน จากชุมชน หรือจากโรงงาน ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม และผลจากการกระทาดังกล่าวกาลังย้อนกลับมาสร้างอันตรายให้เกิดขึ้น ต่อมนุษย์และสิ่งต่างๆ ในโลกอย่างร้ายแรง

4.ปัญหาการเกิดมลพิษ

ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวมักจะเป็นผลจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ที่กระทาต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น การปล่อยน้าเสียออกจากบ้านเรือน จากชุมชน หรือจากโรงงาน ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม และผลจากการกระทาดังกล่าวกาลังย้อนกลับมาสร้างอันตรายให้เกิดขึ้น ต่อมนุษย์และสิ่งต่างๆ ในโลกอย่างร้ายแรง

5.ปัญหาจากการทำลายระบบนิเวศ

ปัจจุบันหลายประเทศในโลกได้นาเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เพื่อพัฒนาด้านต่างๆ ในประเทศของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรม ด้านเกษตรกรรม โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ ทาให้ระบบนิเวศเกิดความแปรปรวน เช่น การเกิดความแห้งแล้งในภูมิภาคต่าง ๆ ที่นับวันจะทวี
ความรุนแรงขึ้น

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

ปัญหาขยะเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลหยิบยกขึ้นมาวาระแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกำลังจัดทำแผนแม่บทเพื่อจัดการและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและต้นแบบจากต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการขยะ ซึ่งอาจต้องออกกฎหมายควบคุมการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทางด้วย

ประชากรที่เพิ่มขึ้น การบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า ในปี 2558 ปริมาณขยะมูลฝอยทั้งประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 อยู่ที่ประมาณเกือบ 27 ล้านตัน อัตราการสร้างขยะมูลฝอยต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 1.11 เป็น 1.13 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ขณะที่ขยะมูลฝอยเพียงร้อยละ 30 ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง และนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลอย่างจริงจัง ทำให้มีขยะตกค้างและเป็นปัญหามากถึง 30 ล้านตันต่อปี โดยเฉพาะในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สระบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี ซึ่งได้รับการแก้ปัญหาไปบางส่วนแล้ว และตั้งเป้าจัดการให้หมดภายในสิ้นปีนี้

ความพยายามครั้งล่าสุดในการแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองคือการจัดทำร่างแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศซึ่งเน้นเรื่องการแปรขยะมูลฝอยเป็นพลังงาน และการจัดการขยะตั้งแต่ชุมชนต้นทาง ซึ่งเป็นมาตรการที่จะทำให้ระบบการจัดการขยะมีประสิทธิภาพมากที่สุด อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการยังน้อยกว่าเมื่อเทียบกับระบบจัดการขยะแบบเดิม

ล่าสุดคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ปัญหาฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้เปิดให้ทุกภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเป็นครั้งสุดท้าย โดยมีแนวคิดใหม่ที่จะออกเป็นกฎหมายเพื่อควบคุมและจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง หลังจากนี้คณะทำงานจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ปี พ.ศ.2559-2564 จะสรุปมาตรการรวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี โดยเร็ว เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน

ปัญหาด้านวินัยการทิ้งขยะในโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนในทุกวันนี้ สืบเนื่องมาจากเด็กนักเรียนในโรงเรียนส่วนใหญ่มีนิสัยการทิ้งขยะไม่เป็นที่ทาง ไม่แยกขยะ ทิ้งข้าวของเรี่ยราดตามใจอยาก สร้างความสกปรกให้แก่อาคารสถานที่ ไม่นับการก่อขยะในโรงเรียนอาทิเช่น ทำลายบอร์ดห้องเรียน ทำรุนแรงกับโต๊ะและเก้าอี้ในห้องเรียน ก่อความวุ่นวายและเสียหายให้กับทรัพย์สินโรงเรียนเหล่านี้ได้เพิ่มขยะในห้องเรียนมากขึ้น นักเรียนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ก่อขยะนั้นมักจะไม่สนใจขยะที่ตนก่อและไม่ได้ก่อ ไม่มีวินัยหรือใส่ใจในความสกปรก ขนม ของกิน ขวดน้ำที่ยังไม่หมดสามารถพบเห็นได้ตามห้องเรียนรกๆและโต๊ะเรียนระเกะระกะ เผยให้คนนอกมาเห็นเกิดความรู้สึกไม่ดีต่ออาคารสถานที่และสถาบัน และแนวโน้มสูงมากว่านักเรียนรุ่นต่อไปจะขาดระเบียบวินัยในการทิ้งขยะ รักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หากทางผู้ปกครองโรงเรียนยังไม่ใส่ใจในปัญหาทางด้านนี้ และเมื่อเติบโตไปเป็นบุคลากรในสังคม ก็จะกลายเป็นบุคคลผู้ขาดระเบียบวินัย ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระดับใหญ่ยิ่งขึ้นๆ จนอีกไม่นานก็จะเยียวยาไม่ได้

 

ที่มา :

Hoornweg, D. & Bhada-Tata, P. What a Waste: A Global Review of Solid Waste Management (World Bank, 2012).

*ตีพิมพ์ลงใน จุลสารจับกระแสเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy Watch) ฉบับที่ 1 | ปีที่ 1 | พ.ศ. 2558